ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่มีผลงานระดับดี ในเขตพื้นที่อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่มีผลงานระดับดี 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตกับความสำเร็จของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่มีผลงานระดับดี และ 3. เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่มีผลงานระดับดีในเขตพื้นที่อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กับสมาชิกและคณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่มีผลงานระดับดีในพื้นที่อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 244 คน จากการแทนค่าในสูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yanmane) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของกลุ่มออมทรัพย์ฯ จำนวน 5 ปัจจัย อยู่ในระดับมาก 2. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตกับความสำเร็จของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่มีผลงานระดับดี พบว่า ปัจจัยด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของสมาชิก (Beta = 0.476) ปัจจัยด้านภาวะผู้นำของคณะกรรมการ (Beta = 0.385) ปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ (Beta = 0.159) และปัจจัยด้านการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ (Beta = 0.138) ตามลำดับส่งผลทางบวกต่อความสำเร็จของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่มีผลงานระดับดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถพยากรณ์ความสัมพันธ์ได้ ร้อยละ 88.6 (R2 = .886) 3. ผลการศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์ฯ พบว่าสมาชิกบางรายไม่สามารถชำระเงินที่กู้ยืมได้ตรงตามระยะเวลาที่กำหนดคณะกรรมการขาดการจัดทำฐานข้อมูลหรือข้อมูลอื่น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ และสมาชิกไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นอย่างแท้จริง
Article Details
References
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2563). ยุทธศาสตร์ขจัดความยากจน พ.ศ.2548-2551. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2563. แหล่งที่มา: http://www.moac.go.th/ccpm/kere/d1.pdf.
อัสนีย์ พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2557). ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจนด้วยตนเองในระดับครัวเรือน กรณีศึกษา : ครัวเรือนที่มีรายได้ตกเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน อำเภอโคกศรีสุพรรณจังหวัดสกลนคร. วารสารบัณฑิตศึกษา. 11 (53), 45-52.
กรมการพัฒนาชุมชน. (2556). แนวทางส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต. กรุงเทพมหานคร: กรมการพัฒนาชุมชน.
พรทิพย์ บุญทา. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของกองทุนหมู่บ้านที่มีผลการประเมินระดับดีมาก ในเขตอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. การศึกษาค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารจัดการภาครัฐ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชราชภัฏพิบูลสงคราม.
อิสรนันท์ ทรงเนติเชาวลิต. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อุมาภรณ์ เตโชพันธุ์. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารงานกองทุนหมู่บ้านให้ประสบความสำเร็จในระดับมาตรฐานที่ 1AAA ของจังหวัดสระบุรี. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการจัดการ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.