ผลกระทบที่มีต่อประชาชนจากการไม่มีการเลือกตั้งท้องถิ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มุ่งที่จะตอบคำถามในการวิจัยว่า การที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มีคำสั่งที่ 1/2557 ให้งดการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นที่ครบวาระหรือพ้นจากตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีผลกระทบต่อประชาชนหรือไม่ และอย่างไร
ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยได้มาจากการสัมภาษณ์ตัวอย่างประชาชน จำนวน 200 คน ในพื้นที่เทศบาลที่มีปลัดเทศบาลรักษาการในตำแหน่งนายกเทศมนตรี และประชาชนอีกจำนวน 200 คนในเขตเทศบาลตำบลที่มีนายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างที่ไม่มีการเลือกตั้ง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ และค่า Chi-Square
ผลการวิจัยพบว่า การไม่มีการเลือกตั้งส่งผลต่อประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลที่มีปลัดเทศบาลรักษาการในตำแหน่งนายกเทศมนตรีมากกว่าในพื้นที่ที่มีนายกเทศมนตรียังคงรักษาการในตำแหน่งนายกเทศมนตรี ความแตกต่างนี้มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.001 งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าปลัดเทศบาลที่รักษาการในตำแหน่งนายกเทศมนตรีไม่มีความใกล้ชิดกับประชาชน มีพฤติกรรมเสมือนเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มาปกครองประชาชนมิใช่ผู้ที่มาบริการประชาชน ส่งผลให้ความรับผิดชอบในผลของการตัดสินใจของตนที่จะมีต่อประชาชน และการตอบสนองความต้องการของประชาชน ต่ำกว่านายกเทศมนตรีที่ยังคงทำหน้าที่รักษาการในตำแหน่งนายกเทศมนตรี
Article Details
References
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 1/2557. (2558, 5 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 (ตอนที่ 1 ง ฉบับพิเศษ), หน้า 48-52.
ดวงใจ พุทธวงศ์ และคณะ. (2562). การเมืองและการปกครองท้องถิ่นของไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน : ทิศทาง แนวโน้ม. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์. 7 (2), 2-14
Romzek, Barbara S. and Melvin J. Dubnick. (1987). “Accountability inthe Public Sector : Lessons from the Challenger Tragedy.” Public Administration Review.
UNESCAP. (2009). What is Good Governance?. Online. Retrieved 18 October 2020. From: https://www.unescap.org/resources/what-good-governance.