สภาพแวดล้อมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนเป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะและทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในศตวรรษที่ 21การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เหมาะสมต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ 2) เปรียบเทียบความแตกต่างของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ จำแนกตามสาขาและชั้นปี และ 3) ค้นหาแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ การวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน ดำเนินการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ แบบประเมินค่าตามมาตรวัด 5 ระดับของลิเคิร์ท จากนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จำนวน 475 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก และได้สัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับสนทนากลุ่มกับตัวแทนนักศึกษาจำนวน 7 คน เพื่อค้นหาแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ one-way ANOVA ผลวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากมีความคิดเห็นต่อสภาพแวดล้อมทางกายภาพ บรรยากาศการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของผู้เรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) นักศึกษาที่มีชั้นปีและสาขาที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เหมาะสมต่อการสร้างความคิดสร้างสรรค์ที่แตกต่างกัน และ 3) สภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการทำกิจกรรม บรรยากาศการเรียนที่ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างและแสดงความคิดเห็นแบบไม่มีผิดถูก ผู้สอนที่เป็นผู้กระตุ้นหรือผู้เรียนร่วม การมอบหมายงานกลุ่มและการมีกระบวนการถามตอบระหว่างการเรียน เป็นประเด็นสำคัญในการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน
Article Details
References
กิ่งกาญจน์ โสภณพิศุตม์. (2561). การศึกษาแนวทางการปรับปรุงห้องเรียนสถาปัตยกรรมภายในกรณีศึกษา: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ผังเมืองและนฤมิตศิลป์. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. 26 (1), 200-216.
กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. (2563). สถิติจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียน ประจำปีการศึกษา 2563. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2564. แหล่งที่มา http://eduservice. yru.ac.th/newweb/page/mis/studentregyear.php?type=2563
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
สิริชัย ดีเลิศ, ปานใจ ธารทัศนวงศ์ และ สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2560). ความคิดสร้างสรรค์ของบัณฑิตในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีอัตลักษณ์เชิงสร้างสรรค์. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 6 (1), 16-25.
สุรเกียรติ ธาดาวัฒนาวิทย์. (2561). การศึกษาเปรียบเทียบการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาด้านอุตสาหกรรมบริการ : กรณีศึกษาประเทศสวิสเซอร์แลนด์และประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 12 (1), 332-349.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). รายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2563. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2564. แหล่งที่มา: http://nscr.nesdc. go.th/wp-content/uploads/2021/02/NS-12_438-449.pdf
Amabile, T. M. (2012). Componential theory of creativity. Online. Retrieved April 26, 2020. From: http://www.hbs.edu/faculty/Publication%20Files/12-096.pdf
Hair, Jr. J. F., Black, B. B., Anderson, R. and Tatham, R. L. (2006). Multivariate Data Analysis. (6th ed.). New Jersey: Pearson Education.
Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological measurement. 30, 607-610.
Richardson, C. and Michra, P. (2018). Learning Environment that Support Student Creativity: Developing the SCALE. Thinking Skills and Creativity. 27, 45-54.