การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 การบริหารงานของเทศบาลกุดจับ อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัย “การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 การบริหารงานของเทศบาลกุดจับ อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี” นี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1. เพื่อศึกษาหลักอิทธิบาท 4 ในทางพระพุทธศาสนาเถรวาท 2. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงานของเทศบาลกุดจับ และ 3. เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 การบริหารงานของเทศบาลกุดจับ โดยการศึกษาจากเอกเอกสารและข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 รูป/คน โดยนำเสนอผลวิจัยพรรณาวิธี
ผลการวิจัยพบว่า หลักอิทธิบาท 4 ในทางพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นบาทฐานแห่งความสำเร็จ คือ สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น 4 คือ 1. ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุด ที่มนุษย์เรา ควรจะได้ ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ 2.วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ คำนี้ มีความหมายของ ความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วย ส่วนหนึ่ง 3. จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้น ไปจากความรู้สึก ของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่ และ 4. วิมังสา หมายถึงความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่
การบริหารงานของเทศบาลกุดจับ ได้มีนโยบายการพัฒนาไว้ 9 ด้าน 1. นโยบายด้านการพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถานบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และ ส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2. นโยบายด้านการศึกษา ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการกีฬา 3. นโยบายด้านเศรษฐกิจ 4. นโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐาน 5. นโยบายด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 6. นโยบายด้านสาธารณสุข การสังคมสงเคราะห์ และคุณภาพชีวิตของประชาชน 7. นโยบายด้านความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินของประชาชน การป้องกันอาชญากรรมและลดปัญหายาเสพติด 8. นโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 9. นโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งทุกนโยบายของผู้นำเทศบาลกุดจับนั้นส่วนมากมีปัญหาอยู่บ้าง เพราะปัญหาในเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องและก็มีส่วนในด้านนโยบายที่ประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 การบริหารงานของเทศบาลกุดจับ เป็นการบูรณาการกิจกรรมโครงการของทางเทศบาล ของทางชุมชนและของทางวัดให้เป็นหนึ่งเดียวกันโดยการบูรณาการในทุก ๆ เรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับ ศิลปะวัฒนธรรมประเพณีพิธีกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อที่จะเป็นการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวในการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐคือเทศบาลผู้นำชุมชนในเขตเทศบาล วัดในเขตเทศบาลที่จะเป็นการชักชวนเชิญชวนประชาชนในพื้นที่เข้าสู่กระบวนการมีการส่วนร่วมในการดำเนินจัดการกิจกรรมต่าง ๆเพื่อให้ประสบความสำเร็จในเรื่องของการให้ทาน การรักษาศีลและมีการอบรมขัดเกลาจิตใจในเรื่องของธรรมะทางพระพุทธศาสนาอิทธิบาท 4 ที่จะเป็นการโยงในเรื่องของการประกอบอาชีพที่อยู่บนพื้นฐานของอิทธิบาท 4 ให้ประชาชนนั้นมีความรู้มีความเข้าใจสูงรูปแบบการปฏิบัติและใช้ในการดำเนินชีวิตเพื่อที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตอันจะส่งเสริมในเรื่องของการพัฒนาคุณภาพชีวิตบนทางพระพุทธศาสนาอย่างมีความสุขและยั่งยืน
Article Details
References
ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2560). ศัพท์รัฐประศาสนศาตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย,
เทศบาลตำบลกุดจับ. (2561). แผนพัฒนาเทศบาลตำบลกุดจับ 3 ปีอำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2561-2563. อุดรธานี: เทศบาลตำบลกุดจับ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2548). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอส.อาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์ จำกัด
สมคิด บางโม. (2561). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทวิทยพัฒน์ จำกัด