การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชัน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/7 โรงเรียนทวีธาภิเศก
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากที่ผู้วิจัยได้เข้าฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่โรงเรียนทวีธาภิเศก ได้รับมอบหมายให้สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน ผู้วิจัยได้มีการสอบถามจากครูผู้สอนและศึกษาปัญหาในการเรียนการสอนจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า ในการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมา เน้นรูปแบบการสอนที่นำเสนอเนื้อหา นิยาม หรือยกตัวอย่างโจทย์ให้นักเรียนดู ไม่ได้ใช้กิจกรรมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากนัก ผลจากการสอนดังกล่าวทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในเนื้อหาที่เรียน โดยเฉพาะเรื่องฟังก์ชันซึ่งเป็นเรื่องนามธรรม มีเนื้อหาที่ซับซ้อน ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ รายงานวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง ฟังก์ชัน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/7 โรงเรียนทวีธาภิเศก กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/7 โรงเรียนทวีธาภิเศก จำนวน 32 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเขียนตอบจำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง ฟังก์ชัน ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13 คิดเป็นร้อยละ 65 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50 ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย และมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 90.63
Article Details
References
ชไมพร รังสิยานุพงศ์. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พฤติกรรมการทำงานกลุ่มและเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย โดยใช้วิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ STAD. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทิภาพร บุตรโคตร. (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง
ภาคตัดกรวย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้. หนองคาย: โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร.
สกล ตั้งเก้าสกุล. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดการใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้คณิตศาสตร์และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุกัญญา แย้มกลีบ. (2559). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับกลวิธีเมตาคอกนิชันเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 10 (2), 103-121.
อดิศร ลิประเสริฐ. (2559-2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้โปรแกรมเรขาคณิตพลวัต. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11 (1), 188-197.
ไอริน ชุ่มเมืองเย็น. (2561). การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางพีชคณิตของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2 “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2018”. 30 พฤศจิกายน 2561 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.