การสร้างเครื่องมือการประเมินเพื่อการเรียนรู้ เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

นิตยา นิลาราช
ญาณภัทร สีหะมงคล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อสร้างเครื่องมือการประเมินเพื่อการเรียนรู้เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ2) เพื่อหาคุณภาพของเครื่องมือการประเมินเพื่อการเรียนรู้ เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามขั้นตอนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา กลุ่มเป้ามายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนาหนองทุ่มวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 39 คน ซึ่งได้แกมาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ประเภท ได้แก่ 1. แบบทดสอบ 2. แบบประเมินตนเอง และ3. แบบบันทึกการสะท้อนผล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ดัชนีความสอดคล้อง ค่าความเชื่อมั่น ค่าความยากง่าย และค่าอำนาจจำแนก
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเพื่อการเรียนรู้ประกอบด้วย
              1.1 แบบทดสอบ เป็นแบบทดสอบเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ
              1.2 แบบประเมินตนเองของนักเรียน ในด้านความคิดเห็น ความรู้สึกและด้านพฤติกรรม ที่มีต่อการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์จำนวน 20 ข้อ
              1.3 แบบบันทึกการสะท้อนผลของนักเรียนต่อการแก้ไขโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในด้านความคิดเห็น ด้านความรู้ ด้านทักษะและด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่มีต่อการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์จำนวน 15 ข้อ
          2. ผลการศึกษาคุณภาพของเครื่องมือการประเมินเพื่อการเรียนรู้
              2.1แบบทดสอบ เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 20 ข้อ มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.48 – 0.74 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.21 – 0.58 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.88
              2.2 แบบประเมินตนเองของนักเรียน ในด้านความคิดเห็น ความรู้สึกและด้านพฤติกรรม ที่มีต่อการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์จำนวน 20 ข้อ เพื่อประเมินตนเองของนักเรียน หลังเรียน มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.41 – 0.71 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90
              2.3 แบบบันทึกการสะท้อนผลของนักเรียนต่อการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในด้านความคิดเห็น ด้านความรู้ ด้านทักษะและด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่มีต่อการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์จำนวน 15 ข้อ

Article Details

How to Cite
นิลาราช น., & สีหะมงคล ญ. . (2021). การสร้างเครื่องมือการประเมินเพื่อการเรียนรู้ เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. Journal of Modern Learning Development, 6(5), 63–83. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/249511
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา ธานะ. (2556). รายงานการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิคต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสะท้อนคิด รายวิชาการฝึกปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2555. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยพายัพ.

งานวิชาการโรงเรียนนาหนองทุ่มวิทยา. (2561). รายงานกลุ่มงานวิชาการโรงเรียนนาหนองทุ่มวิทยา. ชัยภูมิ:โรงเรียนนาหนองทุ่มวิทยา.

จิตติมา พิศาภาค. (2552). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ดวงพรตั้งอุดมชัยเจริญ. (2551). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ในการแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้ขั้นตอนของโพลยาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ทิศนาแขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์

วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2543). การพัฒนาการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมพร สีตาล. (2559). การพัฒนาชุดฝึกทักษะ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3โรงเรียนประชาอุปถัมภ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจํากัด.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2559). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัยชุดการประเมินและวิจัยฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.

สิริพรทิพย์คง. (2545). หลักสูตรและการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการจำกัด.

สุริยันต์ลาภเย็น. (2559). การใช้การประเมินเพื่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมผลการเรียนรู้ในรายวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศสตรีวิทยา 2. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม2564. แหล่งที่มา: http://www.sci.rmutt.ac.th/stj/index.php/stj/article/view/317

โสมภิลัยสุวรรณ. (2554). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วนโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลลำพูน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Polya George. (1957). How to Slove it. New Jersey. Princeton University Press.

Aravena D.M. & Caamano E.C. (2008). The method of problem solving based on the Japanese and Polya’s models A classroom experience in Chilean School. Chile. (Mathematics Department Basic Sciences Institute), Catholis University of Talca - Chile.

Black. P. & Wiliam, D. (2002). Inside the black bok: Raising standards through classroom assessment. London, UK: King College London school of Education.

Assessmen Reform Group. (2002). Assessment for learning: Beyond the black box. University of Cambridge Faculty.