การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา สศ 2203101 ภูมิศาสตร์กายภาพ สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษาชั้นปีที่ 1 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ

Main Article Content

ปนัดดา พาณิชยพันธุ์
วุฒิวัฒน์ อนันต์พุฒิเมธ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนรายวิชา สศ 2203101 ภูมิศาสตร์กายภาพและเพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ประชากรที่ใช้ คือ นักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี จังหวัดลพบุรี ที่เรียนรายวิชา สศ 2203101 ภูมิศาสตร์กายภาพ ภาคเรียนที่ 1/2563  จำนวน 60 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD และแผนการจัดกิจกรรมการรู้แบบปกติ อย่างละ 16 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัย และแบบเขียนบรรยาย (Essay Test) แบบประเมินความพึงพอใจทางการเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานทดสอบค่า t-test แบบ dependent และ Independent
          ผลการวิจัย พบว่า
          1. นักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
          2. นักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ STAD มีความพึงพอใจทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
พาณิชยพันธุ์ ป. ., & อนันต์พุฒิเมธ ว. . (2021). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา สศ 2203101 ภูมิศาสตร์กายภาพ สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษาชั้นปีที่ 1 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. Journal of Modern Learning Development, 6(6), 78–88. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/249797
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรสังคมศึกษา พ.ศ. 2551 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนที่มีประสิทธิภาพ.

(พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชรีพร สุทธิกรกมล. (2559). ผลการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจการท่องเที่ยวและการโรงแรม. รายงานผลการวิจัย. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วัลยา บุญอากาศ. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎรําไพพรรณี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุวิทย์ มูลคํา และคณะ. (2554). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการคิด. กรุงเทพมหานคร: อี เค บุ๊คส์.

อุษา ยิ่งนารัมย์. (2552). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยวิธีเรียนแบบร่วมมือแบบ STAD กับการสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การวิจัยการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Slavin, E Robert. (1989). “STAD,” Journal of Research and Development in Educational. 60 (7), 42 - 48.