ความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมการบริการทางการบัญชี กับผลการดำเนินงานของสำนักงานบัญชีในจังหวัดภูเก็ต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมการบริการทางการบัญชีกับผลการดำเนินงานของสำนักงานบัญชีในจังหวัดภูเก็ต กลุ่มตัวอย่างจำนวน 89 ตัวอย่าง ใช้การสุ่มแบบอย่างง่าย (Simple Sampling) ด้วยวิธีการจับฉลาก โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ 1) สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตฐาน และ2) สถิติเชิงอนุมาน คือ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียรสัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับนวัตกรรมการบริการทางการบัญชีของสำนักงานบัญชี พบว่า โดยรวมผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับนวัตกรรมการบริการทางการบัญชีของสำนักงานบัญชี ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการเข้าถึงการบริการ ด้านคุณภาพเทคนิค และด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านมนุษยสัมพันธ์ ตามลำดับ 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของสำนักงานบัญชีในจังหวัดภูเก็ต พบว่า โดยรวม ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของสำนักงานบัญชีในจังหวัดภูเก็ต ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ได้แก่ ด้านกระบวนการภายใน ด้านการเรียนรู้และพัฒนา ด้านลูกค้า และด้านการเงิน ตามลำดับ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมการบริการทางการบัญชีของสำนักงานบัญชีกับผลการดำเนินงานของสำนักงานบัญชีในจังหวัดภูเก็ต พบว่า นวัตกรรมทางการบริการทางการบัญชีมีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานของสำนักงานบัญชีในจังหวัดภูเก็ต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (Sig. < 0.01) ทุกด้าน แสดงให้เห็นว่า นวัตกรรมทางการบริการทางการบัญชีมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลการดำเนินงานของสำนักงานบัญชีในจังหวัดภูเก็ต โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ตั้งแต่ ระดับปานกลางถึงสูง ช่วงของความสัมพันธ์ตั้งแต่ 0.533-0.826
Article Details
References
กมลวิช วงศ์สาย และคณะ. (2562). คุณภาพการบริการด้านบัญชีกับความสําเร็จของสํานักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 13 (3), 39-54.
กัญฐณา ดิษฐ์แก้ว. (2558). คุณภาพของข้อมูลทางบัญชีบริหาร นวัตกรรมทางการบริหาร การเพิ่มผลผลิตและ ความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการโรงสีข้าวในเขตภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่. 8 (1), 47-66.
ชาญชัย ประเสริฐสังข์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะความเป็นมืออาชีพและประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีที่มีต่อความสำเร็จของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. บัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
พชรมน เหล่าพรหม. (2557). ผลกระทบของนวัตกรรมการบริการทางการบัญชีที่มีต่อผลการของสำนักงานบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือดำเนินงาน. ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พฤกษา แก้วสาร และ นพดล พันธุ์พานิช. (2563). แนวทางการให้บริการของสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 8 (ฉบับเพิ่มเติม), 239-250.
ยุพาวรรณ วรรณวาณิชย์. (2554). การตลาดบริการ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ลักขณา ลีละยุทธโยธิน. (2555). การจัดการนวัตกรรมในธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2555. แหล่งที่มา: http://www.nia.or.th/innolinks/200608/-innovpeople.htm
สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). สถิติจำนวนสำนักบริการรับทำบัญชีร้านอาหารในประเทศไทย ปี 2560. ออนไลน์. ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2562. แหล่งที่มา: http://www.dbd.go.th/download/ account _file/account_office/42.pdf
Gu, W. and Gera, S. (2004). The Effect of Organizational Innovation and Information and Communications Technology on Firm Performance. International Productivity Monitor. 9, 37-51.
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1988). Delivery Quality Service: Balancing Customer Perceptions and Expectations. New York: Free Press.
Saisut, P. (2011). The effect of innovation capability on professionalism and organization success of account firms in Central of Thailand. Master Thesis, Mahasarakham University.
Straw, B.M. & Epstein, L.D. (2000). What bandwagons bring: Effects of popular management techniques on corporate performance, reputation, and CEO pay. Administrative Science Quarterly. 45, 523-556.
Wall, K. L. (2004). Seeking a new measure of service with LibQUAL TM. Miss Libr. 68 (1), 8 - 10