การวิเคราะห์ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

เมษา นวลศรี
กุลชาติ พันธุวรกุล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพปัจจุบันของผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ 2) เปรียบเทียบผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำแนกตาม เพศ ระดับชั้น และผลการเรียนเฉลี่ยสะสม เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จํานวน 600 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ โดยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ในช่วง .80 ถึง 1.00 ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติเชิงสรุปอ้างอิง ได้แก่ t-test for independent sample และ F-test ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว  
          ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.246, S.D. = .778) และเมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า ทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับปานกลาง 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีคะแนนผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 ไม่แตกต่างกันตามเพศ แต่มีความแตกต่างกันตามระดับชั้น และ ระดับผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
นวลศรี เ., & พันธุวรกุล ก. . (2021). การวิเคราะห์ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น . Journal of Modern Learning Development, 6(6), 266–282. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/250623
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา หฤหรรษพงศ์. (2562). การรู้ดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, 5 (2). 27–40.

จิตตรี พละกุล และเมษา นวลศรี. (2561). การวิเคราะห์องค์ประกอบพฤติกรรมความเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น: กรณีศึกษาเขตพื้นที่ภาคกลาง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. 14 (1), 1-22.

โรงเรียนสาธิตพัฒนา. (2563). หลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.satitpattana.ac.th/web/secondary1.php

วัลลภา วงศ์ศักดิรินทร์ และ วายุภักษ์ วงศ์ศักดิรินทร์. (2560). พฤติกรรมการมีวินัยในตนเองของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 12 (ฉบับพิเศษ), 100-111.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 6). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา: http://qa.vru.ac.th/pdf/.pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561. บริษัท 21 เซนจูรี่ จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). มาตรฐานการศึกษาของชาติกับการประกันคุณภาพการศึกษาของคนไทย. บริษัท 21 เซนจูรี่ จำกัด.

สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2561). การเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.trueplookpanya.com/blog/content/65649/-teaarttea-teaart-

Best, J. W., & Kahn, J. V. (2006). Research in Education (10 th ed.). New Delhi: PHI. Learning Private.

Cristobal, E., Flavian, C., & Guinaliu, M. (2007). Perceived e-service quality (PeSQ) Measurement validation and effects on consumer satisfaction and web site loyalty. Managing service quality: An international journal. 17 (3), 317-340.

Erkuş, A. (2003). Psikometri Uzerine Yazılar. Ankara: Türk Psikologlar Derneği Yayınları.