ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเสื้อผ้าให้นมลูกของคุณแม่ผ่านเครือข่ายเฟซบุ๊ก ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อิสรีย์ ปทุมากร
วิชากร เฮงษฎีกุล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และการตัดสินใจซื้อ 2) เปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อ แยกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อเสนอปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยเก็บข้อมูลกับสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่เป็นคุณแม่ในเขตกรุงเทพมหานครที่เคยหาข้อมูลเกี่ยวกับเสื้อผ้าให้นมลูกผ่านเครือข่ายเฟซบุ๊กและเคยซื้อเสื้อผ้าให้นมลูกมาก่อน ช่วงอายุระหว่าง 15-44 ปี จำนวน 400 คน ตามแนวคิดของ (Cochran et al, 1953: 690) มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ .973 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สถิติการถดถอย
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับส่วนประสมทางการตลาด และการตัดสินใจซื้ออยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.05 และ3.93 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.544 และ 0.577 2) ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านอายุ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 และ 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (R2=.686) โดยปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านราคา ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อมากที่สุด

Article Details

How to Cite
ปทุมากร อ. ., & เฮงษฎีกุล ว. . (2021). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเสื้อผ้าให้นมลูกของคุณแม่ผ่านเครือข่ายเฟซบุ๊ก ในเขตกรุงเทพมหานคร. Journal of Modern Learning Development, 7(2), 182–195. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/252131
บท
บทความวิจัย

References

กรมอนามัย สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. (2563). สถานการณ์และนโยบายอนามัยการเจริญพันธุ์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2564. แหล่งที่มา: http://apps.hpc.go.th/dl/web/upFile/2020/03-5005-20200304140549/f976bc499eec144cf12be50e3a3b74ba.pdf.

จุฑามาศ เฟื่องโชติการ, ลัสดา ยาวิละ, และ รัตนา สิทธิอ่วม. (2563). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าบนสื่อออนไลน์เฟซบุ๊กของประชาชนในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 14 (1), 212-228.

ชื่น เตชามหาชัย และคณะ. (ม.ป.ป.). การศึกษาการดูแลอนามัยการเจริญพันธุ์ของสตรีไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2564. แหล่งที่มา: http://webcache.googleusercontent.com.

ไทยพีบีเอส. (2564). สธ.เปิดสถิติเด็กไทยเกิดต่ำกว่า 600,000 คน ครั้งแรกในรอบ 3 ปี. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2564. แหล่งที่มา: https://news.thaipbs.or.th/content/301313.

นันทพร ศรีธนสาร. (2561). ลักษณะพฤติกรรม และปัจจัยต่อการเลือกซื้อเสื้อผ้าออนไลน์ของผู้หญิงพลัสไซส์ผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ปาจรีย์ ยังชู. (2562). พฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นออนไลน์ของประชากรในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2564. แหล่งที่มา: https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/vlt15-1/6114993672.pdf.

ผกากรอง วนไพศาล. (2559). น้ำนมแม่ ประโยชน์อเนกอนันต์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2564. แหล่งที่มา: https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/ knowledge/article/338/น้ำนมแม่/.

พัชราภรณ์ พร่องพรมราช. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าพรีเมี่ยมแบรนด์ (Premium Brand) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศูนย์รวมคนหลงใหลในโฆษณา. (2563). Digital Thailand 2020: สรุป 30 สถิติดิจิทัลของคนไทย ประจำปี 2020 ฉบับรวมครบจบในที่เดียว. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2564. แหล่งที่มา: http s://adaddictth.com/knowledge/digital-thailand-2020.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). ตีสนิทอีคอมเมิร์ซ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2564. แหล่งที่มา: https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/publications/e-Commerce-Fundamentals-by-ETDA.aspx.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). ETDA เผย ปี 62 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 10 ชั่วโมง 22 นาที Gen Y ครองแชมป์ 5 ปีซ้อน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2564. แหล่งที่มา: https://www.etda.or.th/th/NEWS/ETDA-Revealed-Thailand-Internet-User-Behavior-201 9.aspx.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). ETDA เผยมูลค่า e-Commerce ไทย ปี 62 คาดพุ่ง 4.02 ล้านล้านบาท. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2564. แหล่งที่มา https/www-etda-or-th/ th/newsevents/pr/Value-of-e-Commerce-Survey-in-Thailand-2019.aspx.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2562. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2564. แหล่งที่มา: https://www.unicef.org/thailand/media/5151/file/การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย%202562%20-%20รายงานผลฉบับสมบูรณ์.pdf.

Amelia, L. R. (2015). The influence of marketing mix variables on purchase decision and customer satisfaction (Case study of customer of Vitiara rent car malang). Jurnal administrasi bisnis, 28 (2), 1-10.

Cochran, W. G., Mosteller, F., & Tukey, J. W. (1953). Statistical problems of the Kinsey report. Journal of the American Statistical Association, 48(264), 673-716.

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of psychology. 140, 1-55.