ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน 2. ศึกษาระดับประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 3. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนกับประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และ 4. ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสร้างสมการถดถอยเพื่อพยากรณ์ตัวแปรตาม โดยวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนกับประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล และด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .522 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 27.30 (R2=.273)
Article Details
References
กัลยา เสถียร. (2555). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลนิคมคำสร้อย อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
กรีฑพล สิงห์ประเสริฐ. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2555). หลักการเลือกใช้เทคนิคทางสถิติในงานวิจัยพร้อมทั้งอธิบายผลลัพธ์ที่ได้จาก SPSS. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิตติมา เขื่อนขันธ์. (2553). ประสิทธิภาพการบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่เล่ย์. การศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (ฉบับปรับปรุงใหม่). (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ชยสร สมบุญมาก. (2559). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของข้าราชการตำรวจในกองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 9. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ สถาบันรัชต์ภาคย์.
ณัฐศรัณย์ อารยะพงศ์. (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลอีปาด อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ. รานงานวิจัยวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
ท้องถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู. (2556). ประวัติความเป็นมาของหนองบัวลำภู. หนองบัวลำภู: ท้องถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู
ธีรศักดิ์ กิตติอุดมพันธ์. (2558). ประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลช่อผกา อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
นิธิวรรณ รุ่งนิ่ม. (2552). การประเมินประสิทธิภาพการบริหารงานของเทศบาลเมืองคลองหลวงอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.
พงษ์ศักดิ์ ขุนมาลี. (2562). ปัจจัยการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยเทศบาลตำบลทะเลทรัพย์ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
พิศมร เพิ่มพูล และจักรชัย สื่อประเสริฐสิทธิ์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาสามสิบอำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง. 6 (1), 168-211.
พรศักดิ์ พงษ์แสนพันธ์. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลเขตอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา ในทัศนะของผู้ใช้บริการ. การศึกษาอิสระหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
มลิวรรณ์ นามพันธ์. (2557). ประสิทธิภาพการบริหารงานของเทศบาลในจังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
สุจิตรา สิงห์หันต์. (2563). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริการภาครัฐของส่วนราชการ ในเขตอำเภอเต่างอยจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สาธิต พิรุณสาร. (2561). ประสิทธิผลการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
สากล พรหมสถิต. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในทางการเมือง. รายงานการวิจัย. บุรีรัมย์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สุรพงศ์ การินทร์. (2555). ประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา. การศึกษาค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยพะเยา.
อิสรีย์ เถลิงรัมย์. (2551). การประเมินประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบบุรี. การศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1980). Participations place in rural development: Seeking clarity through specificity. New York: World Developments.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd Ed).New York.Harper and Row Publications.