การศึกษาการบริหารวิชาการเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาการบริหารวิชาการเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 โดยใช้วิธีวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารและครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 48 แห่ง จำนวน 463 คน โดยวิธีสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบอัตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าดัชนี PNImodified
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 อยู่ในระดับมาก (= 3.84 SD = 0.71) เมื่อพิจารณารายด้าน ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านมาตรฐานการเรียนรู้ (= 3.90, SD = 0.69) ค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านสภาพแวดล้อม การเรียนรู้ (= 3.79, SD = 0.75) สภาพที่พึงประสงค์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.41, SD = 0.66) เมื่อพิจารณารายด้าน ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (= 4.42, SD = 0.65) และด้านการพัฒนาทางวิชาชีพ (= 4.42, SD = 0.66) ค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการประเมินผล (= 4.39, SD = 0.63) และเมื่อพิจารณาจาก ผลต่างระหว่างสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์พบว่า ควรให้ความสำคัญในการพัฒนาด้านสภาพแวดล้อมการเรียนรู้มากที่สุด (PNImodified = 0.166) รองลงมาคือ ด้านหลักสูตรและการสอน (PNImodified = 0.152) ด้านการประเมินผล (PNImodified = 0.146) ด้านการพัฒนาทางวิชาชีพ (PNImodified = 0.145) และด้านมาตรฐานการเรียนรู้ (PNImodified = 0.128) ตามลำดับ 2. แนวทางในการพัฒนาการบริหารวิชาการเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 โรงเรียนควรสร้างความเป็นเลิศด้านสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ พัฒนาสภาพแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ สร้างความเป็นเลิศด้านหลักสูตรและการสอนโดยการสร้างภาคีเครือข่าย พัฒนาหลักสูตรและการสอนให้มีความยืดหยุ่น ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน สร้างความเป็นเลิศในการประเมินผลที่มีมาตรฐาน และมีประสิทธิภาพ พัฒนาการประเมินผลให้มีความครอบคลุมความสามารถของผู้เรียนโดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ สร้างความเป็นเลิศด้านการพัฒนาวิชาชีพเพื่อเพิ่มพูนสมรรถนะของครู พัฒนาครูเพื่อยกระดับไปสู่ความเป็นครูมืออาชีพ สร้างความเป็นเลิศในการกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และพัฒนามาตรฐานการจัดการเรียนรู้
Article Details
References
กรมสุขภาพจิต. (2562). วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก 10 กันยายน 2562. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2563. แหล่งที่มา: https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=2267
พระครูใบฎีกา (มณฑล ชูโตศรี). (2562). อิทธิพลของสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 10 (1), 192-200.
รัตพล อ่อนสนิท. (2557). พื้นที่สีเขียวใกล้โรงเรียนช่วยให้เด็กความจำดีขึ้นและช่วยส่งเสริมสมาธิในการเรียน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.voathai.com/a/green-space-ro/2827063.html#:~:text=ในที่สุดคณะทำงานของ,ๆ%20ถึง%202%20ใน%203
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี- สฤษดิ์วงศ์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). ผลการประเมิน PISA 2018: บทสรุปสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สมชาย รัตนทองคำ. (2554). เอกสารประกอบการสอน. คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2564. แหล่งที่มา: https://ams.kku.ac.th/aalearn/ resource/edoc/tech/54/13eva.pdf
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2. (2562ก). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2561. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2563. แหล่งที่มา: https://www.sesao2.go.th/wp-content/uploads/2021/08/รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้.pdf
สุวิมล ว่องวานิช. (2550). การประเมินอภิมาน: วิธีวิทยาและประยุกต์ใช้. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
อรพันธุ์ ประสิทธิรัตน์. (2559). สภาพแวดล้อมการเรียนรู้. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2564. แหล่งที่มา: http://ejournals.swu.ac.th/index.php/ENEDU/article/viewFile/5955/5590
อัญชลี ทองเอม. (2561). การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 8 (3), 185-199.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30 (3), 607-610.