ยุทธศาสตร์การพัฒนารูปแบบการจัดการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ บนหลังคาโดยผู้ประกอบการและผู้ใช้ภาคครัวเรือน พื้นที่เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สุริยาวุธ กิตติภูวดล
ขวัญมิ่ง คำประเสริฐ
อนันตกุล อินทรผดุง
พัฒนพงษ์ จันทร์ควง

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการผลิตไฟฟ้าบนหลังคาและการจัดการแผงโซล่าเซลล์ที่หมดอายุการใช้งานที่มีผลต่อผู้ประกอบการและผู้ใช้ภาคครัวเรือน พื้นที่เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร และ 2) สร้างรูปแบบยุทธศาสตร์การพัฒนารูปแบบการจัดการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา โดยผู้ประกอบการและผู้ใช้ภาคครัวเรือน พื้นที่เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามกับผู้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาภาคครัวเรือน ในพื้นที่เขตคันนายาว แขวงรามอินทรา 203 ตัวอย่าง และแขวงคันนายาว 197 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ที่ระดับนัยสำคัญ .05 และใช้แบบสัมภาษณ์กลุ่มกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา และผู้ประกอบการ ในพื้นที่เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร นำผลการวิเคราะห์ข้อมูลสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนารูปแบบการจัดการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาโดยผู้ประกอบการและผู้ใช้ภาคครัวเรือน พื้นที่เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร และจัดการระดมสมองเพื่อปรับปรุงยุทธศาสตร์
          ผลการวิจัยพบว่า
          1) รูปแบบการจัดการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา ประกอบด้วย บริบทของปัญหาที่พบ ได้แก่ การลักลอบติดตั้ง ค่าใช้จ่าย ผู้รับเหมาไม่มีใบอนุญาต ผู้ใช้ไม่มีความรู้ โครงสร้างอาคาร การตลาดที่ใช้ศัพท์ยาก และการวางแผนการผลิตไฟฟ้า คาดการณ์เศษวัสดุหรือโซล่าเซลล์ที่หมดอายุ การปฏิบัติการติดตั้งระบบผลิต ความรวดเร็วในการดำเนินการ และการยอมรับการรับรู้ประโยชน์ที่จะได้รับในอนาคต มีความสัมพันธ์ทางบวกกับรูปแบบการจัดการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา และ 2) ยุทธศาสตร์การพัฒนารูปแบบการจัดการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาโดยผู้ประกอบการและผู้ใช้ภาคครัวเรือน พื้นที่เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธ์ศาสตร์ที่ 1 การเข้าใจโซล่าเซลล์ที่ติดตั้งบนหลังคา ยุทธ์ศาสตร์ที่ 2 การใช้งานโซล่าเซลล์บนหลังคา และ ยุทธ์ศาสตร์ที่ 3 การจัดการแผงโซล่าเซลล์ที่หมดอายุ

Article Details

How to Cite
กิตติภูวดล ส., คำประเสริฐ ข. ., อินทรผดุง อ. ., & จันทร์ควง พ. . (2021). ยุทธศาสตร์การพัฒนารูปแบบการจัดการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ บนหลังคาโดยผู้ประกอบการและผู้ใช้ภาคครัวเรือน พื้นที่เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร. Journal of Modern Learning Development, 7(2), 301–316. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/252944
บท
บทความวิจัย

References

การเคหะแห่งชาติ. (2562). ข้อมูลประชากรปี 2562. กรุงเทพมหานคร: การเคหะแห่งชาติ.

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ. (2562). เปิดแผน 5 ปี กกพ.ใช้งบ 5 พันล้าน เน้นกำกับให้มีประสิทธิภาพพัฒนาพลังงานหมุนเวียน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2563. แหล่งที่มา: https://dmf.go.th/public

/list/data/detail/id/14143/menu/593.

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2559). แผนพลังงานทดแทน (AEDP

-2579). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2563. แหล่งที่มา: http://www.iie.or.th /iie2016/images/postdoc/files/3pdf.

รพีพัฒน์ สุทธิวงศ์. (2560). นโยบายพลังงานทดแทนเพื่อความมั่นคงของชาติ. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

สุมิตรา ศรีชูชาติ. (2550). สถิติธุรกิจ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สำนักผังเมือง. (2564). ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2563. แหล่งที่มา: http://cmc.bangkok.go.th/bmaitev/web/index.php.

สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2562). สมุดปกขาว การศึกษาเชิงนโยบายการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ. ปทุมธานี: สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.

อธิโชค วินทกร. (2555). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของธุรกิจบำรุงรักษารถยนต์. ปรัชญาดุษฎีนิพนธ์ (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Gustafsson, A.M., Foreman, M.R., Ekberg C. (2014). Recycling of High Purity Selenium From CIGSSolar Cell Waste Materials. Waste Managment. 34 (10), 1175-1182.

Martensson, C.and Skoglund, M. (2014). Solar Landfills a Study of the Concept in a Swedish Setting. Master’s thesis in Energy and Environmental Engineering the Department of Management and Engineering the Division of Energy Systems.

McDonald, N.C. and Pearce, J.M. (2010). Producer responsibility and Recycling Solar Photovoltaic Modules. Energy Policy. 38 (11), 7041-7047.

Pramod Ranjan Arora. (2013). Right Time to Reap Benefits from Residential Solar Rooftop PV in India - A Venture of Millions. International Journal of Scientific and Research Publications. 3 (8), 1-7.

US EPA. (2013). Renewable energy/ state and local/ US EPA. Online. Retrieved May 4, 2020. From : http://www.epa.gov/statelocalclimate/state/topics/renewable.html.