การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏ

Main Article Content

ทัศนีย์ บุตราช
พีรพงศ์ บุญฤกษ์
ธงธิภา วันแก้ว

บทคัดย่อ

          ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนเป็นสถานที่สำคัญสำหรับการเรียนรู้ของนักเรียน การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมจึงเป็นสิ่งที่ห้องปฏิบัติการควรปฏิบัติเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ และ 3) เพื่อประเมินคุณภาพของรูปแบบการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏ (แผนกมัธยม)
มีขั้นตอนการวิจัยดังนี้ 1. ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการจากบุคลากรที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม มีลักษณะแบบมาตราส่วน 5 ระดับ มีค่าความเที่ยง 0.98 สถิติที่ใช้คือค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2. การสร้างรูปแบบ และ 3. การประเมินรูปแบบ ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.77 ± 0.86 อยู่ในระดับปานกลาง แปลผลได้ว่าในการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนมีปัญหาในหลายด้านที่ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขและนำไปกำหนดเป็นองค์ประกอบของรูปแบบ ผลการสร้างรูปแบบประกอบด้วยการบริหารจัดการใน 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการจัดการของเสียอันตราย 2) ด้านการจัดการอุปกรณ์ที่ชำรุด 3) ด้านสภาพแวดล้อมภายในห้องปฏิบัติการ 4) ด้านการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการ และ
5) ด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ ผลการประเมินรูปแบบตามมาตรฐานที่กำหนด จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ 1) มาตรฐานความเป็นไปได้ 2) มาตรฐานด้านความเป็นประโยชน์ 3) มาตรฐานด้านความเหมาะสมและ 4) มาตรฐานด้านความถูกต้องครอบคลุม อยู่ในระดับมากที่สุด และผลจากการสนทนากลุ่มกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย มีความคิดเห็นว่ารูปแบบมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้งาน

Article Details

How to Cite
บุตราช ท., บุญฤกษ์ . พ. ., & วันแก้ว ธ. . (2021). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏ. Journal of Modern Learning Development, 7(2), 280–300. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/253333
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2564). ความรู้เรื่องฝุ่นละออง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2564. แหล่งที่มา: http://pcd.go.th/info_serv/air_dust.htm.

กรมอุตุนิยมวิทยา. (2564). สถิติภูมิอากาศ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2564. แหล่งที่มา: http://climate.tmd.go.th/content/category/29

เก็จกนก เอื้อวงศ์. (2562). การสนทนากลุ่ม: เทคนิคการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพที่มีประสิทธิภาพ. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 12 (1), 17 – 30.

ณัฎฐกานต์ เกตุคุ้ม, ปัทมา นพรัตน์, จันทรัตน์ วรสรรพวิทย์และสัตติญา ดีดวงพันธ์. (2562). การสร้างแนวปฏิบัติการจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการอย่างปลอดภัยสำหรับอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ในประเทศไทย. Bulletin of Applied Sciences, 8 (8), 78-87.

บุญชม ศรีสะอาดและบุญส่ง นิลแก้ว. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

ลาวัลย์ เอียวสวัสดิ์. (2564). การจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.recycleengineering.com/wp-content/uploads/2020/02/ lab-waste-management-guidelines.pdf

วาสนา กีรติจำเริญ. (2554). มาตรฐานห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์. นิตยสาร สสวท. 39 (172). 46 – 49.

วิมลชญาน์ สถิตสุนทรพันธ์, ธานี เกสทอง และทีปพิพัฒน์ สันตะวัน. (2563). รูปแบบการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในสถานศึกษา. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 7 (3), 157 – 173.

วิษณุพงษ์ ห้วยกรดวัฒนาและพัชรา สินลอยมา. (2563). แนวทางการพัฒนาการจัดการของเสียอันตรายจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์. วารสารวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 16 (3), 128 – 142.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.bic.moe.go.th/images/stories / 5Porobor._2542pdf.pdf

สุวิมล ว่องวาณิช. (2549). การประเมินอภิมาน : วิธีวิทยาและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.