การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการสอนวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักศึกษาครูสาขาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักศึกษาครู สาขาคณิตศาสตร์ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ และ 2) ศึกษาเจตคติที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ กลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาครู สาขาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โดยการสุ่มแบบกลุ่มมา 1 ห้องเรียน จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียน และ 3) แบบวัดเจตคติที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบทดสอบและแบบวัดเจตคติตั้งแต่ 0.67-1 และ 1 ตามลำดับ ดำเนินการทดลองโดยการวิจัยแบบกลุ่มเดียวมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกั
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. เจตคติที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ สำหรับนักศึกษาครูสาขาคณิตศาสตร์อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
Bruffee, K. A. (1993). Collaborative learning: Higher education, interdependence, and the authority of knowledge. Baltimore, MD: Johns Hopkins University Press.
Cranton, P. (1996). Types of group learning. In S. Imel (Ed.), Learning in groups: Fundamental principles, new uses, and emerging opportunities. New Directions for Adult and Continuing Education, No.71. San Francisco: Jossey-Bass.
Malangtupthong, P., Angganapattarakajorn, V. & Nualpang, K. (2015). The effects of organizing inductive and deductive learning on Mathematical reasoning and written communication abilities in number theory of Mathayomsuksa IV students. Journal of Education. 26 (2). 102-113. (In Thai)
Ma-oon, R. (2016). Effective teaching and learning management in higher education. Journal of Southern Technology. 9 (2), 169-176. (In Thai)
Methakunavudhi, P. (2000). Learning and teaching management that is student-centered. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. (In Thai)
Ministry of Education. (2014). Office of the Basic Education Commission: Ministry of Education’S Guidance on Teaching and Learning English Language Reformation. Bangkok: Jamjuree product. (In Thai)
Ministry of Education. (2014). Guidelines for the announcement of the Ministry of Education regarding reform policies Teaching English. Bangkok: Jamjuree product. (In Thai)
Panawas, S. (2019). English insertion in non-English subjects. Online. Retrieved May 13, 2019 from : https://www.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/download/99385/77243. (In Thai)
Potcharapanpong, S. (2012). Developing activities for teaching science subjects with English inserts to promote science learning achievement and satisfaction with science learning for students Grade 4. The 6th academic conference for presenting graduate research results. Surin: Surin Rajabhat University.
Smith, K. A. (1996). Cooperative learning: Making “group work”. In T. E. Sutherland & C.C. Bonwell (Eds.), Using active learning in college classes: A range of options for faculty. New Directions for Teaching and Learning, No. 67. San Francisco: Jossey-Bass.