การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัยในช่วงสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

Main Article Content

หทัยชนก สิงห์คำ
ณิรดา เวชญาลักษณ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมและเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีม ตามแนวปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของบุคลากรในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย จำแนกตามขนาดสถานศึกษา ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย จำนวน 27 แห่ง โดยผู้ให้ข้อมูลประกอบไปด้วยผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 24 คน และครู จำนวน 96 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. ผลการศึกษาประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย ทั้ง 5 ด้าน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.70 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายเดียวกัน รองลงมาได้แก่ด้านการมีส่วนร่วม ช่วยเหลือกัน ด้านการสื่อสารที่ดีและเปิดเผย ด้านการรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ด้านการมอบหมายบทบาทงานที่ชัดเจนตามลำดับ
         2. การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย จำแนกตามขนาดสถานศึกษา พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน โดยมีเฉพาะด้านการรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
สิงห์คำ ห., & เวชญาลักษณ์ . ณ. . (2022). การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัยในช่วงสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). Journal of Modern Learning Development, 7(5), 255–270. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/254841
บท
บทความวิจัย

References

กรชนก สุตะพาหะ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2564). เมื่อการ Work From Home ลบเส้นแบ่งเวลา ทำให้เวลาส่วนตัวกลายเป็นเวลาทำงาน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id =31065

กุสุมาวดี บัตรสูงเนิน. (2562). ปัจจัยด้านภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

จารุกัญญา โกพล. (2562). การทำงานเป็นทีมของครูโรงเรียนสหวิทยาเขตพระธาตุมหาชัยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธีระ ไชยสิทธ์. (2555). ศึกษาสภาพการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.

นันท์นภัส วงศ์สุรินทร์. (2559). การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์).

พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (2554). การพัฒนาสมรรถนะทางการบริหาร. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ไพเราะ เชื้อสาย (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมกับความพึงพอใจในการทำงานของครูสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2559). ทีมงาน (Teamwork) : พลังที่สร้างความสำเร็จ. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์

ลำเทียน เผ้าอาจ. (2559). การทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูในโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอเมืองตราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมใจ ลักษณะ. (2552). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: คณะวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สุวัฒน์ นาวงษ์. (2562). เปรียบเทียบทักษะการบริหารในยุคศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

อริศษรา อุ่มสิน. (2560). การศึกษาการทำงานเป็นทีมของครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30 (3), 607-610.