การใช้วิธีสอนการวิเคราะห์ QUEST เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

นิสิต ผลเดชสถาพร
อัญชลี จันทร์เสม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการใช้วิธีสอนการวิเคราะห์ QUEST 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้วิธีสอนการวิเคราะห์ QUEST ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2563 จำนวน 364 คน จากนักเรียนทั้งหมด 12 ห้องเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/8 โรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย จำนวน 28 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 12 คาบ ดำเนินการทดลองตามแบบแผนการวิจัย One-Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. แผนการสอนด้วยวิธีสอนการวิเคราะห์ QUEST 2. แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ 3. แบบสอบถามวัดความพึงพอใจที่มีต่อการใช้วิธีสอนการวิเคราะห์ QUEST สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (Mean Score) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสถิติทดสอบที t –test for dependent samples
          ผลกาวิจัยพบว่า
          1. ผลคะแนนการทดสอบทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีสอนการวิเคราะห์ QUEST หลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
          2. นักเรียนที่มีความพึงพอใจการใช้วิธีสอนการวิเคราะห์ QUEST ในระดับพึงพอใจมาก

Article Details

How to Cite
ผลเดชสถาพร น. ., & จันทร์เสม อ. . (2022). การใช้วิธีสอนการวิเคราะห์ QUEST เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. Journal of Modern Learning Development, 7(4), 101–112. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/254877
บท
บทความวิจัย

References

เนตรนภา สวยสี. (2560). การพัฒนาความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้ กระบวนการวิเคราะห์ QUEST สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การสอนภาษาอังกฤษ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปวีณ์สุดา ขยันการ, มีชัย เอี่ยมจินดา, และ ภัทร์ธีรา เทียนเพิ่มพูน. (2562). การ พัฒนา ผล สัมฤทธิ์ การ อ่าน สื่อ ออนไลน์ อย่าง มี วิจารณญาณ ของ นักเรียน ชั้น มัธยมศึกษา ปี ที่ 4 โดย ใช้ การ จัดการ เรียน รู้ ด้วย วิธี QUEST. Journal for Social Sciences Research. 10 (1), 129-146.

ภรณี ดีราษฎร์วิเศษ. (2557). ประชาคมอาเซียน 2558 และการสอนภาษาอังกฤษ ในประเทศไทย. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 10 (2), 56-57.

สุชาติ วรรณขาว. (2549). การใช้ยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชั่นในการสอนภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณสำาหรับ นักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร. วิทยานิพนธ์ ศษ.ด. (หลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

BBC THAI NEWS. (2562). ผล PISA พบการอ่านของนักเรียนไทยแย่ลงเรื่อย ๆ ส่วนคณิต-วิทย์ไม่เปลี่ยนแปลง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.bbc.com/thai/ international-50642536

The Standard. (2562). ผลประเมิน PISA 2018: คะแนนนักเรียนไทยอยู่จุดไหนในเวทีนานาชาติ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565. แหล่งที่มา: https://thestandard.co/pisa-2018-2/