ประเพณีนมัสการพระธาตุพนม : การบูรณาการส่งเสริมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
ประเพณีนมัสการพระธาตุพนม เป็นประเพณีที่สำคัญของจังหวัดนครพนม เนื่องจากพระธาตุพนมเป็นศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งอยู่ที่วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงมณฑปหรือเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม เป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดนครพนม และประชาชนโดยทั่วไปที่เลื่อมใสศรัทธา การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติและความเป็นมาของประเพณีนมัสการพระธาตุพนม และ 2) เพื่อบูรณาการส่งเสริมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างการวิจัย จำนวน 100 คน ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้รู้ 2) กลุ่มผู้ปฏิบัติ และ 3) กลุ่มทั่วไป เลือกแบบเจาะจง โดยใช้เครื่องมือการวิจัยในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสำรวจ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ตรวจสอบข้อมูลโดยใช้เทคนิคการตรวจสอบแบบสามเส้า และนำเสนอผลการวิจัยในลักษณะพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า 1) ศึกษาประวัติและความเป็นมาของประเพณีนมัสการพระธาตุพนม พบว่า ประเพณีนมัสการพระธาตุพนมได้มีการจัดขึ้นทุกปี สืบเนื่องมาจากพระธาตุพนมได้ชำรุดทรุดโทรมลง ในปีพุทธศักราช 2444 ได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ และให้ประชาชนร่วมบริจาคปัจจัยสมทบการบูรณะพระธาตุพนม จึงได้กำหนดวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3 เป็นงานประเพณีนมัสการพระธาตุพนม และ 2) บูรณาการส่งเสริมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม พบว่าประเพณีนมัสการพระธาตุพนม สามารถบูรณาการส่งเสริมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้วิธีการบูรณาการในส่วนที่มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้แต่ละเนื้อหาสาระ ซึ่งสามารถแบ่งตามสาระการเรียนรู้ออกเป็น 5 สาระ ดังนี้ 1) สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม 2) สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม 3) สาระเศรษฐศาสตร์ 4) สาระประวัติศาสตร์ และ 5) สาระภูมิศาสตร์ เพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักต่อศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม หลักธรรมของพระพุทธศาสนา รักษาคุณค่าของวัฒนธรรม บริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นอย่างจำกัด สามารถดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพตามหลักเศรษฐศาสตร์ และเข้าใจในประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของตนเอง ตลอดจนสามารถนำเสนอข้อมูลภูมิสารสนเทศในการอนุรักษ์ประเพณีนมัสการพระธาตุพนม โดยใช้เนื้อหาสาระการเรียนรู้ทั้ง 5 สาระ ทำการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับบริบทหรือความสนใจของผู้เรียนบนพื้นฐาน ภายใต้การบูรณาการเนื้อหาประเพณีนมัสการพระธาตุพนมในรายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
Article Details
References
กระทรวงวัฒนธรรม. (2559). วัฒนธรรม วิถีชีวิตและภูมิปัญญา. กรุงเทพมหานคร: รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) .จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสยามสปอรต์ซินดิเคท จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมาตรฐาน การเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2561). มรดกภูมิปัญญาอีสาน. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงวัฒนธรรม.
ณัฏฐ์วัฒน์ อนันตะสุข.(2564). มโนทัศน์ว่าด้วยการสอนภูมิศาสตร์แนวใหม่ เพื่อการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 15 (2), 7-21.
พระเทพรัตนโมลี (แก้ว อุทุมมาลา). (2560). พระธาตุพนม (พิมพ์ครั้งที่ 3) ปรับปรุงใหม่. นนทบุรี: มติชน ปากเกร็ด.
พระมหาบุญนำ ปรกฺกโม (คนหมั่น). (2560). การศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อและการบูชาพระธาตุของชาวพุทธในล้านช้าง. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พัชรินทร์ รุจิรานุกูล และสุรีย์มาศ สุขกสิ. (2560). แนวทางส่งเสริมการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาในสาระศาสนาศีลธรรมและจริยธรรมของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
วิภาดา พินลา. (2560). เทคนิคการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์สำหรับครูสังคมศึกษาในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 21. วารสารปาริชาต. 30 (2), 1-19.
วิภาพรรณ พินลา. (2559). แนวทางการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการ Veridian E–Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 9 (2), 1140-1157.