การนิเทศการศึกษางานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในอำเภออินทร์บุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการนิเทศการศึกษางานวิชาการของผู้บริหาร 2) เพื่อเปรียบเทียบการนิเทศการศึกษางานวิชาการของผู้บริหาร ประชากร ได้แก่ ครูโรงเรียนในอำเภออินทร์บุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 403 คน จาก 28 โรงเรียน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีเปิดตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกนได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 196 คน ใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้นโดยใช้โรงเรียนเป็นชั้นและใช้การสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการนิเทศการศึกษางานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในอำเภออินทร์บุรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และทำการทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ เชฟเฟ่
ผลการศึกษาพบว่า 1) การนิเทศการศึกษางานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ รองลงมา คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการนิเทศการศึกษา 2.1) ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อการนิเทศการศึกษางานวิชาการของผู้บริหารโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการวัดผลประเมินผลและการเทียบโอนผลการเรียน ด้านการนิเทศการศึกษาและด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา พบว่า แตกต่างกันทุกด้าน 2.2) ครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อการนิเทศการศึกษางานวิชาการของผู้บริหาร โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า แตกต่างกัน ยกเว้น ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้
Article Details
References
กมล ภู่ประเสริฐ. (2544). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ทิปส์พับลิเคชั่น.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
ชุติมา เฟื่องฟู. (2554). สภาพและปัญหาการนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียนในเขตเทศบาลนครนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2543). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
พิสมัย นามอินทร์. (2555). ความต้องการการนิเทศงานวิชาการของครูในสหวิทยาเขตบ้านบึง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
มานะ ทองรักษ์. (2549). การบริหารจัดการโรงเรียนเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธารอักษร จำกัด.
วิภา อยู่คง. (2555). การศึกษาการนิเทศภายในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สุรศักดิ์ จำปาหอม. (2550). ความต้องการการนิเทศการศึกษาของครูในโรงเรียนเทศบาลนครอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2549). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2545). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: พี เอ็น เค แอนด์สกายพริ้นติ้ง.
Cronbach, L.J., Rajaratnam, N., & Gleser, G.C. (1963). Theory of generalizability: A liberalization of reliability theory. British Journal of Statistical Psychology.
Krejcie, Robert V. and Morgan, Daryle W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement.