รูปแบบการจัดการการใช้ที่ดินสาธารณะประโยชน์ของชุมชน ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

วุฒิเวช ภูกองไชย
วัชรินทร์ สุทธิศัย
สิทธิพรร์ สุนทร
ภัณฑิลา น้อยเจริญ

บทคัดย่อ

          เรื่องที่ดินสาธารณะประโยชน์จะเกี่ยวข้องกับหลายฝ่ายหลายหน่วยงานไม่ว่าภาครัฐหรือภาคเอกชน โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ ซึ่งจะมีการเข้าใช้ประโยชน์หรือยึดครองจนนำไปสู่ปัญหาต่างๆ มากมาย เช่น การบุกรุกพื้นที่ การทำลายพื้นที่ทั้งของรัฐ เอกชนและประชาชน เป็นต้น จนนำไปสู่ความขัดแย้งและฟ้องร้องศาลเป็นประจำ โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการจัดการการใช้ที่ดินสาธารณะประโยชน์ของชุมชน (2) ระดับการใช้ที่ดินสาธารณะประโยชน์ของชุมชน (3) ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการที่ดินกับการใช้ที่ดินสาธารณะประโยชน์ของชุมชน (4) ปัจจัยการจัดการที่ดินที่ส่งผลต่อการใช้ที่ดินสาธารณะประโยชน์ของชุมชน (5) ข้อเสนอแนะแนวทางที่แก้ไขปัญหาการใช้ที่ดินสาธารณะประโยชน์ และ (6) ได้รูปแบบ    3. การจัดการการใช้ที่ดินสาธารณะประโยชน์ของชุมชนในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม เป็นการวิจัยแบบผสมเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 332 คน หาขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของยามาเน่ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ โดยวิธี Stepwise อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 คน เลือกโดยวิธีเจาะจง ผู้วิจัยใช้วิธีการพรรณนาความ
          ผลการวิจัยพบว่า  (1) ระดับการจัดการการใช้ที่ดินสาธารณะประโยชน์ของชุมชน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) ระดับการใช้ที่ดินสาธารณะประโยชน์ของชุมชน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (3) ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการที่ดินกับการใช้ที่ดินสาธารณะประโยชน์ของชุมชน โดยรวมมีค่าความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง เท่ากับ .840  (4) ปัจจัยการจัดการที่ดินที่ส่งผลต่อการใช้ที่ดินสาธารณะประโยชน์ของชุมชน โดยรวม พบว่า จำนวน 8 ตัวแปร มีค่า R2 = .827 เรียงลำดับการเข้าสู่สมการพยากรณ์ ได้แก่ ปัจจัยหน่วยงานภาครัฐ (X1) ปัจจัยหน่วยงานภาคเอกชน(X2) ปัจจัยการรวมกลุ่มทางสังคม(X6) ปัจจัยแบบมีส่วนร่วม(X7) ปัจจัยยึดกฎหมายและการเมืองการปกครองฯ(X9) ปัจจัยความเชื่อ ศรัทธาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์(X8) ปัจจัยสิ่งแวดล้อมภายนอก(X10)) และปัจจัยผู้นำชุมชน/หมู่บ้านตามกฎหมายฯ(X3)  สามารถเขียนสมการได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ  = 1.092+ .288X1  + .132X6  + .122X2 + .086X9 + -.071X10 + .056X8 + .055X5 + .031X7 สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน  =  .452Z1 + .211Z2  +.163Z6  +.106Z8  + .092Z7  +.090Z9 + -.090Z10  + .055Z3  (5) ข้อเสนอแนะแนวทางที่แก้ไขปัญหาการใช้ที่ดินสาธารณะประโยชน์ ให้หน่วยงานรัฐให้ความรู้เรื่องที่ดินสาธารณะประโยชน์ทั้งในเรื่องกฎหมาย การใช้ประโยชน์มาหากินจากพื้นที่หรือใช้เลี้ยงสัตว์ มีหน่วยงานกลางหรือคนกลางช่วยแก้ไขปัญหาข้อพิพากษา นอกจาก ผู้ใหญ่บ้าน คนในชุมชนหรือคนในพื้นที่ และมีการตรวจสอบพื้นที่ดินสาธารณะประโยชน์อย่างเป็นธรรมและลงโทษคนหรือหน่วยงานที่บุกรุก (6) รูปแบบ    3. การจัดการการใช้ที่ดินสาธารณะประโยชน์ของชุมชนในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ประกอบด้วย 16 ปัจจัย ดังนี้ 1) ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่รัฐ 2) หน่วยงานภาครัฐ 3) กฎหมายและการเมืองการปกครอง 4) ผู้นำประชาชนในชุมชน 5) ตัวประชาชน 6) อิทธิพลต่างๆ 7) หน่วยงานภาคเอกชน 8) ผู้นำชุมชน/หมู่บ้านตามกฎหมายฯ 9) การรวมกลุ่มทางสังคม 10) การมีส่วนร่วมทุกฝ่าย 11) ความเชื่อ ศรัทธาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 12) สิ่งแวดล้อมภายนอก และ 13) คนรุ่นใหม่หรือการพัฒนายุคสมัยใหม่ 14) นโยบายรัฐบาล/ส่วนกลาง และตัวควบคุมทุกด้าน 15) ความสำนึกสาธารณะ ผิดชอบชั่วดี 16) การปฏิบัติจริงทางกฎหมายอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม

Article Details

How to Cite
ภูกองไชย ว., สุทธิศัย ว. ., สุนทร . ส. ., & น้อยเจริญ ภ. (2022). รูปแบบการจัดการการใช้ที่ดินสาธารณะประโยชน์ของชุมชน ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม. Journal of Modern Learning Development, 7(6), 12–29. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/255654
บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง. (2540). คู่มือการปฏิบัติงานเกี่ยวกับที่ดินสาธารณประโยชน์ ที่ราชพัสดุ และการให้เครื่องหมายตอบแทนผู้ช่วยเหลือราชการพลเรือน. กรุงเทพมหานคร: กรมการปกครอง.

เกศรา ระจะนิตย์. (2556). ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินของรัฐในรูปแบบโฉนดชุมชน. วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

คมสัน หลงละเลิง. (2560). การบริหารจัดการที่ดินสาธารณะประโยชน์แบบมีส่วนร่วมในระดับชุมชน : ตัวชี้วัดและปัจจัยเชิงสาเหตุ. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

จรีรัตน์ สร้อยเสริมทรัพย์. (2552). มาตรการทางกฎหมายในการบังคับใช้เกี่ยวกับการบุกรุกที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินในประเทศไทย. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยราชพฤกษ์.

พชรพล หาญเมือง และวนิดา พรมหล้า. (2563). ความขัดแย้งและการสร้างความร่วมมือในการจัดการที่ดินสาธารณประโยชน์: กรณีศึกษา โคกหนองสิม อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการบริหารปกครอง. 9 (2), 436-470.

พีรวุฒิ บุญวัติ. (2563). ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 16 (4), 175-184.

มุมตาส มีระมาน, อมรภัค ณ นคร และภารดา อุทโท. (2558). คุณลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการจัดการทรัพยากรที่ดินอย่างยั่งยืนรองรับประชาคมอาเซียนของกลุ่มนาข้าวเพื่อการค้า โครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนัง นครศรีธรรมราช. รายงานการวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา.

รุ่งทิพย์ จันทร์ธนะกุล และคณะ. (2563). ระบบการบริหารจัดการที่ดินของหน่วยงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยเพื่อหาแนวทางในการจัดตั้งธนาคารที่ดิน. การประชุมวิชาการระดับชาติ ม.อ.ตรัง วิจัย ประจำปี 2563. 20 มีนาคม 2563, หน้า 107-118.

รัฐชัย สาทรกิจ.(2560). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการครอบครองที่ดินเพื่อใช้การทำกินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วัชรินทร์ สุทธิศัย และทรงเกียรติ ล้านพลแสน. (2563). เอกสารประกอบการสอน 6213102 กฎหมายและการเมืองการปกครองของไทย. สาขาวิชาการบริหารจัดการท้องถิ่นและการบริหารการพัฒนา คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วัลลภ เกตุวิเชียร. (2556). ปัญหาการบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ในเขตเทศบาลตำบลเมืองเวียง ตำบลเวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี . รายงานการวิจัยอิสระปริญญารัฐประศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศักดิ์ศิริ ธูปวงศ์. (2555). สภาพการถือครองและการใช้ประโยชน์ที่ดิน : กรณีศึกษา เขตปฏิรูปที่ดิน ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก. รายงานการวิจัย, กรุงเทพมหานคร: สำนักงานการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม.

สราวุธ ธรรมศิลป์. (2557). บทบาทของผู้นำในท้องถิ่นต่อการบริหารจัดการที่ดินอันเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในตำบลแม่ทะ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ .

สถิตคุณ บุญเรือน.(2561). รูปแบบการดูแลที่สาธารณประโยชน์ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สุรเชษฐ พรนรากุล และศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ. (2556). การจัดการที่สาธารณประโยชน์ขององค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. รายงานการวิจัย. Graduate Research Conference 2013. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักจัดการที่ดินของรัฐ. (2559). คู่มือการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดการที่ดินของรัฐ. กรุงเทพมหานคร: กองการพิมพ์ กรมที่ดิน.

Yamane, Taro. (1973). Statistics an Introductory Analysis. 3rd ed. New York : Harper & Row.