การพัฒนาทักษะการเขียนความเรียงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRC ร่วมกับแบบฝึกการเขียน

Main Article Content

นันทิกา วงค์ใยคำ
กาญจนา วิชญาปกรณ์

บทคัดย่อ

          งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการจัดการเรียนรู้ด้านการเขียนความเรียงก่อนและหลังเรียน โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึกการเขียน 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRC ร่วมกับแบบฝึกการเขียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแม่ปาน (แม่ปานประชาสงเคราะห์) จำนวน 13 โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึกทักษะการเขียน จำนวน 3 แผน 2) แบบทดสอบการเขียนความเรียงก่อนและหลังเรียน โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึกการเขียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test แบบ Dependent
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการจัดการเรียนรู้การเขียนความเรียงก่อนและหลังเรียน โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRC ร่วมกับแบบฝึกการเขียน พบว่า ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 41.62 คะแนน และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 48.15 มีผลต่างอยู่ที่ 6.54 คะแนน คิดเป็นร้อยละเพิ่มขึ้น 10.88 ของคะแนนก่อนเรียน และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนหลังสอบของนักเรียน พบว่า สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญสถิติอยู่ที่ระดับ .05 2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRC ร่วมกับแบบฝึกการเขียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ( = 4.25 , S.D. = 0.14)


 

Article Details

How to Cite
วงค์ใยคำ น., & วิชญาปกรณ์ ก. (2022). การพัฒนาทักษะการเขียนความเรียงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRC ร่วมกับแบบฝึกการเขียน . Journal of Modern Learning Development, 7(6), 255–268. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/255729
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ขนิษฐา กล่ำทับ. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีเรื่องพระบรมราโชวาทโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค CIRC ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร

คมขำ แสนกล้า. (2547). การพัฒนาแผนการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน และการเขียนคำควบกล้ำ วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต กศ.ม. หลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ชมพูนุท บุญอากาศ. (2559). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบ CIRC ร่วมกับการสะท้อนคิดที่ส่งผลต่อความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

ณัฐกาญจน์ เลิศยะโส. (2553). การพัฒนาทักษะการเขียนความเรียงร้อยแก้วโดยใช้การสอนแบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึกการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นงเยาว์ ประโมนะกัง. (2546). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่สอนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะกับวิธีสอนตามคู่มือครู. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ภาควิชาหลักสูตรและการนิเทศ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2537). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วีริยาสัน.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2548). เทคนิคและยุทธวิธีพัฒนาการคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. นครปฐม : คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.