การพัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้รูปแบบซินเนคติกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการเขียนเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ 2) เปรียบเทียบทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์. กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนสันติคีรีวิทยาคม จำนวน 34 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายคือการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบซินเนคติกส์ 2) แบบประเมินทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ก่อนและหลังเรียน มีค่า IOC อยู่ที่ 0.96 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้เรื่องพัฒนาการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้รูปแบบซินเนคติกส์มีค่า IOC ของแบบสอบถามความพึงพอใจที่ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test แบบ Dependent
ผลวิจัยพบว่า 1) ภาพรวมแผนจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (= 4.66,S.D=0.32) 2) ผลการเปรียบเทียบทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ก่อนและหลังเรียนของนักเรียน มีคะแนนเฉลี่ย 11.26 และ 15.38 ตามลำดับ คะแนนสอบหลังการจัดการเรียนรู้มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ภาพรวม พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจระดับมาก ( = 3.85 ,S.D= 0.12)
Article Details
References
จงกล วจนะเสถียร. (2559). การพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนประถมศึกษาปี ที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบซินเนคติกส์. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ สอนภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณัฐณิชา จิตตะคาม. (2561).การจัดการเรียนร้ตามรูปแบบการสอนแบบซินเนคติกส์เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
นฤมล ม่วงไทย.(2543). การสร้างแบบฝึกการเขียนสรุปความอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (การสอนภาษาไทย). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.ถ่ายเอกสาร.
พล พิมพ์โพธิ์. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดอรรถฐานร่วมกับรูปแบบการสอนซินเนคติกส์ที่มีต่อความสามารถในการเขียนร้อยกรองเชิงสร้างสรรค์และเจตคติต่อการเขียน ร้อยกรองเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สายใจ ตะพองมาตร. (2558). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์โดยใช้ แนวคิดของศิลปินที่มีชื่อเสียง เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย.วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลปศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร
สุภาพร กันภัย. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร
อติยศ สรรคบุรานุรักษ์ และธนาเทพ พรหมสุข. (2560). ซินเนคติกส์ : รูปแบบการสอนที่ส่งเสริมนวัตกรรมและกระบวนการคิดสร้างสรรค์ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่21. วารสารศิลปากรฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10 (3), 2555-2566.
อัจฉรา ชีวพันธ์. (2547). กิจกรรมการเขียนเชิงสร้างสรรค์ในชั้นประถมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.