การพัฒนาความสามารถการอ่านคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนววิธีสอนแบบโฟนิกส์ ร่วมกับการใช้แบบฝึกการอ่าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการอ่านคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนววิธีสอนแบบโฟนิกส์ ร่วมกับการใช้แบบฝึกการอ่าน 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการอ่านคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัด การเรียนรู้ตามแนววิธีสอนแบบโฟนิกส์ ร่วมกับการใช้แบบฝึกการอ่าน กับคะแนนเกณฑ์ร้อยละ 75 เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านขุนห้วยแม่ต้าน จำนวนนักเรียน 20 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) แบบฝึกการอ่าน เรื่อง คำที่ประสมด้วยสระประสม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนววิธีสอนแบบโฟนิกส์ ร่วมกับการใช้แบบฝึกการอ่าน 3) แบบทดสอบความสามารถการอ่านคำ เรื่อง การอ่านออกเสียงคำที่ประสมด้วยสระประสมก่อนเรียนและหลังเรียน ดำเนินการเก็บข้อมูลตามขั้นตอนต่อไปนี้ 1) ผู้วิจัยได้ทดสอบความรู้ของกลุ่มตัวอย่างก่อนการจัดการเรียนรู้ (Pretest) โดยการใช้แบบทดสอบความสามารถการอ่านคำ 2) ผู้วิจัยดำเนินการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนววิธีสอนแบบโฟนิกส์ ร่วมกับการใช้แบบฝึกการอ่าน เป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ รวมทั้งหมด 12 ชั่วโมง 3) ผู้วิจัยดำเนิน การทดสอบหลังเรียนโดยใช้แบบทดสอบความสามารถการอ่านคำ แล้วตรวจให้คะแนน นำคะแนนที่รวบรวมได้ไปหาค่าทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) และสถิติทีแบบ 1 กลุ่ม (One Sample t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสามารถการอ่านคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนววิธีสอนแบบโฟนิกส์ ร่วมกับการใช้แบบฝึกการอ่าน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้
2. ความสามารถการอ่านคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ตามแนววิธีสอนแบบโฟนิกส์ ร่วมกับการใช้แบบฝึกการอ่าน สูงกว่าเกณฑ์คะแนนร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
เฉลิมลาภ ทองอาจ. (2558). กระบวนการสอนอ่านแจกลูกอย่างเป็นระบบ : กุญแจสำคัญของการแก้ไขปัญหาอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้. วารสาร วิชาการ. 18 (3), 60-73.
ทีมข่าวเฉพาะกิจ. (2559, 9 มกราคม). เจาะปมร้อนรับวันเด็ก อะไรทำเยาวชนไทยอ่านไม่ออก?. ไทยรัฐ ออนไลน์. ค้นเมื่อ 22 เมษายน 2564. แหล่งที่มา: https://www.thairath.co.th/content/ 560044
นพรดา คำชื่นวงศ์. (2562). แก้ปัญหาการอ่านเขียนด้วยวิธีการสอนแบบโฟนิกส์. ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2564. แหล่งที่มา: https://researchcafe.org/solution-by-using-a-newly-developed-textbook-based-on-phonics-method/
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
พาสนา จุลรัตน์. (มปป). เอกสารประกอบการสอน วิชา จิตวิทยาสำหรับครู (ศษ 141). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
รุ่งอรุณ โรจน์รัตนาดำรง ไชยศรี. (2561). การศึกษาปัญหาการเรียนอ่านเขียนของนักเรียนไทยและนักเรียนต่างด้าว และการแก้ปัญหาด้วยแบบเรียนที่พัฒนาตามแนววิธีสอนแบบโฟนิกส์. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2549). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย แนวคิดเชิงทฤษฎี-วัยเด็กตอนกลาง. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สถาบันภาษาไทย. (2559). คู่มือการสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดคำ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สมพงษ์ ศรีพยาต. (2553). การพัฒนาชุดแบบฝึกการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต คณะบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สังวาลย์ จันทร์เทพ, ยุพิน จันทร์เรือง และอัญชลี เท็งตระกูล. (2562). การใช้แบบฝึกเสริมทักษะพัฒนาการอ่านตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 1 วัดพรหมวิหาร อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. วารสารบัณฑิตวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. 10 (1), 23-40.
สุธีรา บุนนาค. (2559). ผลของการสอนภาษาไทยแบบโฟนิกส์โดยใช้สื่อการสอนประเภทโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีต่อทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทยของนักเรียนไทยหลักสูตรนานาชาติ ในระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). รายงานผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Test: RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2562. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2564. แหล่งที่มา: http://180.180.244.56/ExamWeb/AnnouncementExams/ NTSAnnouncementExams.aspx?mi=50
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). รายงานผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Test: RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22กรกฎาคม 2564. แหล่งที่มา: http://180.180.244.56/ExamWeb/AnnouncementExams/ NTSAnnouncementExams.aspx?mi=50
Jones, S.A. & Deterding, D. (2007). Phonics and Beginning Reading A Practical Guide for Teachers in Southeast Asia. (1 st ed) .Singapore : The McGraw-Hill Companies.
Williams, L.M. (2006). How to Teach Phonics. (2 nd ed). Chicago : Hall & McCreary Company.