การพัฒนาระบบและกลไกการนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติของหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดอำนาจเจริญ

Main Article Content

วุฒิพงษ์ สินทรัพย์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินระบบและกลไกการนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติของหน่วยบริการปฐมภูมิ  จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research:  PAR) ดำเนินการเป็น 2 วงรอบ (Loops)  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปฏิบัติงานแผนกลยุทธ์ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้าและคัดออก จำนวน 108 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจสภาพปัญหา แบบประเมินความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎีและความเป็นไปได้  และแบบรายงานผลการประเมินปฏิบัติงาน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 108 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย  (56.60%) อายุเฉลี่ย 44 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี (66.10%)  ประสบการณ์ทำงานด้านยุทธศาสตร์สาธารณสุขเฉลี่ย 14 ปี ระบบและกลไกการนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติของหน่วยบริการปฐมภูมิ ประกอบด้วย 1)การค้นหาปัญหาและวางแผน  2) กำหนดนโยบายให้เป็นรูปธรรมและพร้อมที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ 3)การนำแผนไปสู่การปฏิบัติ 4)ถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจแก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย 5) การควบคุม กำกับ ติดตามและประเมินผล  และ 6)การปรับปรุงและสะท้อนผล  ส่วนสภาพการนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติของเครือข่ายสุขภาพ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (µ=2.67,= 0.43)  และผลการประเมินการดำเนินงานทั้งหมด 58 ตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์ 47 ตัวชี้วัด (81.03%) ไม่ผ่านเกณฑ์ 11 ตัวชี้วัด (18.97%)
          สรุป: ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้การนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติได้บรรลุเป้าหมาย ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำระบบและกลไกการนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัตินี้ไปดำเนินการในหน่วยงาน

Article Details

How to Cite
สินทรัพย์ ว. (2022). การพัฒนาระบบและกลไกการนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติของหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดอำนาจเจริญ. Journal of Modern Learning Development, 7(8), 16–33. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/256983
บท
บทความวิจัย

References

เกริกยศ ชลายนเดชะ. (2564). การนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2564. แหล่งที่มา::

https://www.stou.ac.th/Schools/Shs/upload/หน่วยที่ 9 ชุดวิชา 58708.pdf1.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. (2561). กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข (พ.ศ.2560-2579) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2. นนทบุรี: กองกองยุทธศาสตร์และแผนงาน.

กาญจน์หทัย กองภา และสมิหรา จิตตลดากร. (2564). การนำนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขไปปฏิบัติ: กรณีศึกษา SMART HOSPITAL ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 6 (3), 152-164.

ชรินทร์ ห่วงมิตร, พงศ์ปณต ตองอ่อน และฐิติภัทร จันเกษม. (2561). การประเมินผลการนำนโยบายเร่งรัดการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในเรือนจำสู่การปฏิบัติในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 3 พ.ศ. 2560. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 8(1), 37-48.

ณิชาภา ยนจอหอ, นงลักษณ์ จินตนาดิลก และสุจิตรา เหลืองอมรเลิศ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติกับผลการดำเนินงานขององค์กรการพยาบาลในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 12 (2), 127-135.

บุญเลิศ พิมศักดิ์, ปิติ ทั้งไพศาล และเสฐียรพงษ์ ศิวินา. (2562). การพัฒนารูปแบบการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติของเครือข่ายสุขภาพระดับปฐมภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 15 (2), 24-32.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2561). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา: แนวคิดและแนวปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: หจก.ทิพย์วิสุทธิ์.

สาระ มุขดี, ขจี พงศธรวิบูลย์ และยิ่งศักดิ์ เพชรนิล. (2559). การพัฒนาระบบและกลไกที่เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน. วารสารพยาบาลตำรวจ. 8 (1), 97-106.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ. (2563). รายงานผลการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์สุขภาพปีงบประมาณพ.ศ.2563. อำนาจเจริญ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ.

สุทธิชาติ เมืองปาน. (2558). การนำนโยบายคนไทยไร้พุงไปสู่การปฏิบัติ: กรณีศึกษาอำเภอควนโดนจังหวัดสตูล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เอกชัย สุระจินดา และดวงใจ พุทธวงศ์. (2559). ประสิทธิผลการนำยุทธศาสตร์การพัฒนาไปปฏิบัติของเทศบาลตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 11 (2), 434-450.

อัมพา อาภรณ์ทิพย์ และอุษณีย์ ธรรมสุวรรณ. (2556). การนำนโยบาย ส6 สร้างสรรค์นวัตกรรมไปสู่การปฏิบัติของบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 19 (1), 201-24.

Conveney M, Ganster D, Hartlen B, King D. (2003). The Strategic gap : Leveraging technology to Execute winning strategies. United States: John Wiley & Sons; 2003.

Daft RL. Management. (2008). 9thed. Mason: South-Western Cengage Learning.

Kaplan RS, Norton DP. (2005). The Office of Strategy Management. Harvard Business Review. 83 (10) 72-80.

Mills, G. E. (2007). Action research: A Guide for the teacher researcher. (3rd ed). New Jersey: Merrill Prentice Hall.