การวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อและความจงรักภักดีของวิสาหกิจชุมชน จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ภัทรพล ชุ่มมี

บทคัดย่อ

          พฤติกรรมและความจงรักภักดีสามารถกำหนดแนวทางการดำเนินธุรกิจให้ตรงกับกลุ่มผู้บริโภค ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถสร้างความดึงดูดใจได้อีกด้วย ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปทุมธานีจำนวนทั้งสิ้น 324 ราย โดยเก็บตัวอย่างแบบเจาะจงตามลำดับรายชื่อ เครื่องมือที่ใชในการวิจัยใช้แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 4 ส่วน โดยใช้การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและการวิเคราะห์องค์ประกอบ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของพฤติกรรมการซื้อและความจงรักภักดีของวิสาหกิจชุมชน จังหวัดปทุมธานี
          ผลการวิจัยพบว่าการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจพบว่าท่านจะตัดสินใจซื้อซ้ำ (Bl2) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุดที่ 0.886 สามารถสรุปภาพรวมของการวิเคราะห์กรอบแนวความคิดด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่าดัชนีวัดความสอดคล้องมีความเหมาะสมกลมกลืนดี (Chi-square=2.74, df=0, P-value =1.000, RMSEA=0.000)
          ผลการวิจัยพบว่าพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ให้สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่น ๆ ได้ สร้างการจดจำและการซื้อซ้ำ โดยต้องการสินค้ามีเอกลักษณ์โดดเด่น ปรับปรุงรสชาติและคุณภาพ การควบคุมคุณภาพด้านรสชาดและคุณภาพให้คงที่สามารถจะทำให้ผู้บริโภคจดจำสินค้าและซื้อสินค้าซ้ำได้ และพัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์ การเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์และช่องทางการตลาดออนไลน์สามารถที่จะช่วยเพิ่มยอดขายได้ แต่ต้องจัดทำเนื้อหาที่เหมาะสมกับผู้บริโภค

Article Details

How to Cite
ชุ่มมี ภ. . (2022). การวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อและความจงรักภักดีของวิสาหกิจชุมชน จังหวัดปทุมธานี. Journal of Modern Learning Development, 7(7), 1–12. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/256991
บท
บทความวิจัย

References

กฤตชน วงศ์รัตน์. (2563). อิทธิพลของส่วนประสมการตลาดบริการและการรับรู้ภาพลักษณ์องค์กรที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าที่มาใช้บริการรีสอร์ทและโฮมสเตย์จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่. 21 (3), 209-227.

สมเกียรติ สุทธินรากร และคณะ. (2562). การสร้างสรรค์มูลค่าของผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมการบริหารจัดการของวิสาหกิจชุมชน. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 13 (1), 270-283.

ชุติมา นิ่มนวล. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ OTOP กรณีศึกษา: ผลิตภัณฑ์ OTOP จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 22 (1), 27-34.

บุญสม ลีชยากิตติกร. (2558). นวัตกรรมการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2564. แหล่งที่มา: http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2015/ TU_2015_ 5723030044 _3423_2120.pdf

ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน. (2564). ข้อมูลวิสาหกิจชุมชน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2564. แหล่งที่มา: http://smce.doae.go.th/smce1/report/report_tvc2_list.php

วิชิต ธาตุเพ็ชร. (2563). วิสาหกิจชุมชน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2563. แหล่งที่มา: https://sites.google.com/site/kriengten /wisahkic-chumchn

อรอุมา นาทสีทา และคณะ. (2563). พฤติกรรมผู้บริโภคและสถานการณ์ตลาดของวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครนายก. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 14 (3), 310-327.

Diamontopoulos, A., & Siguaw, A. D. (2000). Introduction LISREL: A guide for the uninitiated. London: Sage.

Gunday, Gurhan. et., al. (2011). Effect of Innovation Types on Firm Performance. International Journal Production Economics. 133, 662-676.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E., (2010). Multivariate data analysis: A global perspectives. Upper, Saddle River, NJ: Pearson Education, International.

Ngansathil, Wichitra. (2001). Market Orientation and Business Performance: Empirical Evidence from Thailand. Ph.D. Dissertation, The University of Merbourne.

Nguyen, Hong T. (2000). The Determinants and Decision Making Process of Export Marketing Activities in Small and Medium Sized Manufacturing Firms in Germany. DBA. Dissertation, Nova Southern University.

Nuryakin, et al. (2018). Mediating effect of value creation in the relationship between relational capabilities on business performance. Contaduría y Administración, 63 (1), 1-21.