พฤติกรรมการใช้บริการสินเชื่อรถยนต์และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของลูกค้าที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสินเชื่อรถยนต์ ของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการสินเชื่อรถยนต์และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของลูกค้าที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสินเชื่อรถยนต์ของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่นเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้าโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่มียานพาหนะที่เป็นรถยนต์หรือรถบรรทุกอายุ 20-60 ปีจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ที่มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบัครวมทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีรถกระบะ ซึ่งปลอดภาระหนี้สินเชื่อรถยนต์ ส่วนผู้มีภาระหนี้สินเชื่อรถยนต์ใช้บริการกับ บจก.ลีสซิ่ง กสิกรไทยช่องทางการชำระค่างวดรถ คือ หักผ่านบัญชีธนาคารปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของลูกค้าในการตัดสินใจใช้บริการสินเชื่อรถยนต์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.94-4.57 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของลูกค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสินเชื่อรถยนต์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีจำนวน 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) อุปกรณ์เทคโนโลยีในการให้บริการ เช่น แท็บเล็ต (Tablet) ในการทำสัญญาอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น 2) การรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าเก่าที่ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง 3) กระบวนการที่ใช้ในการพิจารณาอนุมัติที่รวดเร็วและชัดเจน 4) ระบบการทำงานที่ถูกต้องและแม่นยำ สามารถทำนายภาพรวมการตัดสินใจเลือกใช้บริการสินเชื่อรถยนต์ ได้ถูกต้องร้อยละ 71.75
Article Details
References
ฐานเศรษฐกิจออนไลน์. (2564). จำนำทะเบียนรถ ปรอทแตก นอนแบงก์ไล่บี้ยึดตลาด. ออนไลน์. ค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2564. แหล่งที่มา: https://www.thansettakij.com/money_market/496377
ฐิติวรดา แสงสว่าง,พรรณนภา เชื้อบาง, เฉวียง วงค์จินดา, สุพรรษา จิตต์มั่นและวรพรรณ รัตนทรงธรรม. (2564). การศึกษาความต้องการการนำโฉนดที่ดินหรือนส.3 เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันของผู้ใช้บริการบริษัทในกลุ่มสินเชื่อทะเบียนรถในประเทศไทย. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8 (1), 27-44.
ธันยนันท์ จิรานุวัฒนวงษ์. (2559). ความเป็นไปได้ในการให้สินเชื่อรถยนต์ของบริษัท ธันยนันท์ จำกัด ในเขตอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. การศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สมคิด ยาเคนและพรรณเพ็ญ หอมบุ. (2559). ปัจจัยการเลือกใช้บริการทางการเงินจากธนาคารออมสินของประชากรในเขตเมืองและเขตนอกเมือง ในจังหวัดลำปาง. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตรและการสื่อสาร. 11 (2), 160-171.
สุชานันท์ จันทรา. (2558). กลยุทธ์การตลาดเพื่อเพิ่มยอดสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ของบริษัท ลีสซิ่งกสิกรไทย จำกัด สาขาขอนแก่น. การศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อุดม งามเมืองสกุล. (2559). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับสัญญาสินเชื่อรถแลกเงิน. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 9 (1), 27-47.
Beamish, K. & Ashford, R. (2012). Marketing Planning. (2nd ed). Italy: Elsevier.
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed). New York: John Wiley & Sons.
Lauterborn, B. (1990). New Marketing Litany: Four P's Passe: C-Words Take Over. Advertising Age. 61 (41), 26.
Sekaran,U. & Bougie, R. (2020). Research Methods for Business. (8th ed). Hoboken, NJ: John Wiley & Sons.