การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทีมของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำทีมของผู้บริหารโรงเรียน 2) พัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทีมของผู้บริหารโรงเรียน 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทีมของผู้บริหารโรงเรียนที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์และ 4) พัฒนาคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทีมของผู้บริหารโรงเรียน การดำเนินการระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบ ระยะที่ 2 การพัฒนาตัวบ่งชี้ ระยะที่ 3 การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้กับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างครูและผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 300 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (stratified sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.60-1.00 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.31-1.00 ค่าความเชื่อมั่น 0.98 และระยะที่ 4 การพัฒนาคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้ โดยการประเมินความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน
ผลการวิจัยพบว่า
1.องค์ประกอบภาวะผู้นำทีม ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การกำหนดเป้าหมาย การแก้ไขความขัดแย้ง การสื่อสาร และบทบาทงาน
2. การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทีม องค์ประกอบย่อย 15 องค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ 60 ตัวบ่งชี้ มีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการนำไปใช้ประโยชน์ร้อยละ 100
3. การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทีม พบว่ามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi – square = 18.45, df =30, p-value = 0.95077, GFI = 0.98, AGFI = 0.94, RMSEA = 0, CN = 430.79) ค่าน้ำหนักองค์ประกอบของทั้ง 60 ตัวบ่งชี้ มีค่าตั้งแต่ 1.91 – 3.00 ตัวบ่งชี้ทุกตัวมีความเหมาะสม
4. คู่มือการใช้ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทีม มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กฤษนา พงษ์วาปี. (2558). รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมภาวะผู้นำทีมของผู้บริหารโรงเรียนประถามศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารราชพฤกษ์, 65-69.
พรพิพัฒน์ ทองประเสริฐ. (2562). หลักภาวะผู้นำด้วยกระบวนการในการสร้างทีมอย่างมีคุณภาพ. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ไพวัล ไชยทองศรี. (2558). การพัฒนาการทำงานเป็นทีม ของโรงเรียนกลุ่มเกาะแก้วสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. 167.
ภัคพล อนุรักษ์เลขา. (2558) การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนมาตรฐานสากล.
ภัณฑ์รักษ์ พลตื้อ. (2556). การพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 โดยใช้ภาวะผู้นำทีม. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วิทยาธร พันธ์สอาด. (2562). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำในการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานศึกษาธิการมหาสารคาม .
ไสว พลพุทธา (2557) การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้ริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา.
อมรรัตน์ สิงโต. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้การทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ.
อริยาพร โทรัตน์ (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22.
อรวรรนี ไชยปัญหา. (2556). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทีมของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก.
Katherine J. Klein. (2011). When team members's values differ: The moderating role of team leadership.
Alotaibi, N. M. (2016). The Extent of Practicing the skills of Team Work Leadership Among Head of Departments in Directorate of Education in Methnb, Saudi Arabia: A Field Study.
Gerzon, N. (2020). Lessons Learned About Leading the Implemention of Formative Assessment A Framework for School Leaders and Leadership Team
Hobson, C. J. (2014). Teaching MBA Students Teamwork And Team Leadership Skills: An Empirical Evaluation Of A Classroom Educational Program.
Sairam, B. (2017). Development of Program to Enhance Team Building Leadership Skills of Primary School Administrators.