An Application of Merit boat racing tradition of Buddhist Methods of Phu Pha Man District, Khon Kaen Province
Main Article Content
Abstract
บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาความขัดแย้งของชุมชนชาวบ้านวังผาดำ อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมประเพณีบุญแข่งเรือในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของชุมชนชาวบ้านวังผาดำ อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น 3) เพื่อประยุกต์ใช้วัฒนธรรมประเพณีการแข่งเรือในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ด้วยพุทธวิธี ของชุมชนชาวบ้านวังผาดำ อ. ภูผาม่าน จ. ขอนแก่น เป็นการวิจัยคุณภาพ (Qualitative Research) ได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และภาคสนามกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) จากผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) ทั้งสิ้น 25 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
สภาพปัญหาชุมชนบ้านวังผาดำ อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น : ชุมชนบ้านวังผาดำ เมื่อกล่าวโดยปัญหาแล้วสามารถแยกได้ดังนี้ 1) ปัญหาทางด้านเศษฐกิจเกิดจากรายรับไม่พอกับรายจ่าย ซึ่งเกิดจากการขาดทุนทางด้านเกษตร ส่งผลให้เกิดการกู้หนี้ยืมสิน 2) ปัญหาทางด้านสังคมการเมืองท้องถิ่นด้วยความแตกแยกด้วยการแบ่งพักแบ่งพวก ตามเหตุแห่งปัจจัยของการเมืองท้องถิ่นจนกลายเป็นชุมชนเกิดความอ่อนแอ การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ : ชุมชนมีนโยบายชุมชนในการจัดกิจกรรมประเพณีการแข่งเรือประจำทุกปี กิจกรรม : การจัดประเพณีการแข่งเรือเป็นการจัดร่วมกับงานบุญกฐินของวัด การสร้างสานของกลุ่ม : มีการประชุมวางแผนงานร่วมวัดกับชุมชนในเขตอำเภอผาม่าน การปลูกฝังความสามัคคีให้เกิดขึ้นเสริมสร้างความรู้สึก : การประยุกต์ใช้หลักธรรมและวัฒนธรรมประเพณีมาเป็นอุบายประสานชุมชนด้วยการทำงานร่วมกัน โดยมีพระสงฆ์ที่เป็นผู้นำด้านจิตวิญญาณเชื่อมประสาน
การประยุกต์ใช้วัฒนธรรมประเพณีการแข่งเรือในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ด้วยพุทธวิธี : นำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา (บุญกฐิน) มาประสานเข้ากับวัฒนธรรมประเพณีเพื่อเป็นอุบายประสานชุมชน จัดให้มีการเล่นพื้นบ้านเพื่อเป็นการสืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีและสร้างสานความสามัคคีในชุมชนภูผาม่าน
Article Details
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วรีวุฒิ โอตรารางกูล. (2520). มาอนุรักษ์กันเถิด ฉบับ 200 ปี กรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพมหานคร : โอเดียน สโตร์.
พระอธิการวิน ทีปธมฺโม ( อิ่มใจ). (2556). บทบาทของพระสงฆ์ต่อการอนุรักษ์ประเพณีการแข่งเรือยาว วัดท่าหลวง อําเภอเมือง จังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา. (2539). น้ำบ่อเกิดแห่งวัฒนธรรมประเพณีไทย. กรุงเทพมหานคร. สมาคมสถาปนิกสยาม
สมบัติ พลายน้อย. (2532). ชีวิตตามคลอง. กรุงเทพมหานคร: ต้นอ้อ.