การพัฒนาชุดกิจกรรมสืบเสาะความรู้คู่กลวิธี ตามแนวคิดศาสตร์การสอนผนวก วิธีสอน (PCK) เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

อรุณรัตน์ นาจันทอง

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมสืบเสาะความรู้คู่กลวิธี เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ (75/75) 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมสืบเสาะความรู้คู่กลวิธีที่พัฒนาขึ้น 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมสืบเสาะความรู้คู่กลวิธี และ 4) ศึกษาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมสืบเสาะความรู้คู่กลวิธี กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนท่าคันโทวิทยาคาร จำนวน 36 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ ชุดกิจกรรมสืบเสาะความรู้คู่กลวิธี เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก จำนวน 9 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  คือ ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล และการทดสอบที (dependent t-test)  
           ผลการศึกษา พบว่าชุดกิจกรรมสืบเสาะความรู้คู่กลวิธี เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ และมีค่าดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้เท่ากับ 0.7511 คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วย ชุดกิจกรรมสืบเสาะความรู้คู่กลวิธีสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ระหว่างเรียนอยู่ในระดับดี และมีคะแนนเฉลี่ยจากการวัดทักษะการคิดวิเคราะห์หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมสืบเสาะความรู้คู่กลวิธี คิดเป็นร้อยละ 76.02

Article Details

How to Cite
นาจันทอง อ. . . (2022). การพัฒนาชุดกิจกรรมสืบเสาะความรู้คู่กลวิธี ตามแนวคิดศาสตร์การสอนผนวก วิธีสอน (PCK) เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. Journal of Modern Learning Development, 7(11), 79–92. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/257907
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551ข). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กุลฤดี รัศมีสวัสดิ์. (2555). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับการสอนแบบปกติ. การศึกษาอิสระ. ศศ.ม. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ . (2548). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ . (พิมพ์ครั้งที่ 9). มหาสารคาม : ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ดวงกมล ศรีทับทิม. (2554). ผลการใช้ชุดกิจกรรมตามหลักการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทำงานของสมอง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์และความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนท่าอิฐศึกษา จังหวัดนนทบุรี: การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 2.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เนื้อทอง นายี่. (2544). ผลการใช้ชุดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับการสอนโดยครูเป็นผู้สอนที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความสนใจทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ปริญญานิพนธ์. กศ.ม., บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช และคณะ. (2559). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 3 (2), 208- 222.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา. นครปฐม : ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุธานี นุชมอญ. (2559). การพัฒนาชุดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ดาราศาสตร์และอวกาศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์. วท.ม., บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.

ศศิวิมล สนิทบุญ, ศรัณย์ ภิบาลชนม์ และ เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับการใช้คำถาม เชิงวิเคราะห์ ที่มีต่อมโนทัศน์และการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ฟิสิกส์อะตอม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร. 8 (22), 197-207.

ศิริวรรณ สาธุพันธ์, เฉลิมพล สวัสดิ์พงษ์, อรธิดา ประสาร, และ จำเริญ อุ่นแก้ว. (2561). การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ชุดการเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้และการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการ. มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ. 12 (3). 60.

ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2558). วิธีสอนทั่วไป. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมนึก ภัททิยธนี. (2555). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.

แสงรุ้ง พูลสุวรรณ. (2556). การพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียนในศตวรรษที่21. School in focus. 5 (13),6-7.