การวิเคราะห์เปรียบเทียบผลตอบแทนและผลตอบแทนหลังจากปรับความเสี่ยงของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ กรณีศึกษา บริษัทหลักทรัพย์ จัดการกองทุนไทยพาณิชย์ จำกัด

Main Article Content

พรพิมล ตลับนิล
ภิเษก ชัยนิรันดร์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการดำเนินงานกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ 2) เพื่อศึกษาผลตอบแทนของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ โดยการปรับความเสี่ยงด้วยวิธี Sharpe Ratio, Treynor Ratio และ Jensen’s Alpha ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนไทยพาณิชย์ จำกัด ตั้งแต่วันที่ 29 เดือนมีนาคม 2562 ถึง 31 เดือนมีนาคม 2565 จำนวน 37 เดือน หรือจำนวน 737 วัน โดยข้อมูลกองทุนรวมที่ใช้ ได้แก่ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วยลงทุน ซึ่งมีกองทุนรวมที่นำมาใช้ในการศึกษา 19 กองทุนรวม กองทุนรวมชนิดจ่ายเงินปันผล 11 กองทุน ผลการศึกษาพบว่า กองทุนรวมที่มีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยสูงสุด คือ SCBBLN เท่ากับ ร้อยละ 1.6617  และอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของกองทุนรวมชนิดสะสมมูลค่า 8 กองทุน พบว่ากองทุนรวมที่มีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของกองทุนรวมสูงสุด คือ SCBOIL เท่ากับร้อยละ 1.8724 หากพิจารณาผลตอบแทนหลังจากปรับความเสี่ยงโดยใช้เครื่องมือมาตร วัด Sharpe Ratio, Treynor Ratio และ Jensen’s Alpha


ผลการศึกษาพบว่า กองทุนรวมชนิดจ่ายเงินปันผลตอบแทนหลังจากที่ปรับความเสี่ยงแล้วสูงสุด คือ SCBNK225D ซึ่งใช้ Sharpe Ratio จะมีค่าเท่ากับ ร้อยละ 0.0214 หากใช้ Treynor Ratio จะมีค่าเท่ากับร้อยละ 0.3515 และหากใช้ Jensen Model จะมีค่าเท่ากับ 1.86 กองทุนรวมชนิดสะสมมูลค่า คือ SCBEUSM มีผลตอบแทนหลักจากปรับความเสี่ยงสูงสุดอยู่ 2 อัตราส่วน คือ Sharpe Ratio มีค่าเท่ากับ ร้อยละ -0.0005 และ Treynor Ratio มีค่าเท่ากับ ร้อยละ -0.0113 ขณะที่หากใช้ Jensen Model จะได้กองทุน SCBOIL ที่มีค่าสูงสุด นั่นคือ 11.17

Article Details

How to Cite
ตลับนิล พ. ., & ชัยนิรันดร์ ภ. . (2023). การวิเคราะห์เปรียบเทียบผลตอบแทนและผลตอบแทนหลังจากปรับความเสี่ยงของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ กรณีศึกษา บริษัทหลักทรัพย์ จัดการกองทุนไทยพาณิชย์ จำกัด. Journal of Modern Learning Development, 8(1), 138–152. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/258738
บท
บทความวิจัย

References

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2564). AISA: การวิเคราะห์การลงทุนในกองทุนรวม. กรุงเทพมหานคร: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนไทยพาณิชย์ จำกัด. (2565). กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2565. แหล่งที่มา: https://www.scbam.com/th/fund/foreign-investment-fund

ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน. (2560). ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ตลาดทุน : ตราสารทั่วไป หลักสูตรผู้แนะนำการลงทุนตราสารทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: บุญศิริการพิมพ์.

สุจารี จันทร์สว่าง. (2565). สร้างเงินล้านก่อนเกษียณด้วยกองทุนรวม. กรุงเทพมหานคร: เช็ก.

Investing. (2022). Indices. Online. Retrieved April 8, 2022, From https://th.investing.com

Jensen, M.C. (1968). The performance of mutual funds in the period 1945-1964.

The Journal of Finance, 23(2), 389-416.

Morningstar Thailand. (2022). Funds. Online. Retrieved April 8, 2022, From https://www. morningstarthailand.com/th/screener/fund.aspx#?filtersSelectedValue=%7B%7D&page=1&sortField=legalName&sortOrder=asc

Sharpe, W.F. (1966). Mutual fund performance. The Journal of business. 39 (1), 119-138.

Treynor, J.L. (1965). How to rate management of investment funds. Harvard business review, 43 (1), 63-75.