การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยโดยใช้ชุดกิจกรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้อง รวมนักเรียนทั้งหมด 30 คน ผู้วิจัยได้คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดย การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling ) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและ การทดสอบค่าที (t-test for Dependent Samples) เครื่องมือที่ใชในการทดลองประกอบด้วย 1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมจำนวน 4 แผน และ 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบทดสอบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน รวม 30 คะแนน ใช้ในการสอบก่อนเรียน (Pre-test) และทดสอบหลังเรียน (Post-test) 3. ชุดกิจกรรมการสอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยโดยใช้ชุดกิจกรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ โดยเฉลี่ยเท่ากับ 83.75/ 81.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 20.27 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานเท่ากับ 2.62 ค่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 24.03 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานเท่ากับ 2.39 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
จารุวดี ขวัญศรีสุทธิ์. (2563). การพัฒนาชุดการเรียนด้วยตนเองวิชาภาษาไทย หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านพัฒนาตน เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนท่าแพผดุงวิทย์.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์, บุญเลิศ ส่องสวาง และ วาสนา ทวีกุลทรัพย์. (2551) . ประมวลสาระชุดวิชา การพัฒนาหลักสูตรและสือการเรียนการสอน หน่วยที 8-15 (ชุดการเรียนการสอน). (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2559). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์. 5 (1), 7-20.
ทิพยฉัตร พละพล. (2562) .วิจัยเรื่อง การพัฒนาชุดการสอนภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคํา สําหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 .วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์ SocialSciences Research and Academic Journal. 14 (1), 93-106.
ธีรพงษ์ เทศชวน. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 5 ขั้น เรื่องการแยกสาร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 15 (2), 95-108.
รพีพรรณ เพชรอนันต์กุล. (2563). การพัฒนาชุดการสอนการเขียนภาษาไทยอย่างมีประสิทธิผลสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารช่อพะยอม CHOPHAYOM JOURNAL 96. 31 (2), 95-109.
d.school. (2016). Welcome to the Virtual Crash Course in Design Thinking. Online. Available at: http://dschool.stanford.edu/dgift/ [Accessed 13 Mar. 2016].
Kuanhawej, B. (1999). Educational innovation. (4th ed.). Bangkok: SR Printing. (in Thai)
Naphapon, S. (2011). Development of activity packages to reinforce analytical skill for Phathomsuksa 6 (Master thesis). Bangkok: Srinakarinwirot University. (in Thai)
Royal Institute of Thailand. (2012). Royal Institute Dictionary of Education. Bangkok: Royal
Saennam, P. (2010). Developing Thai analytical reading activity packages of the department of Thai for Pratomsueksa 6 students (Master thesis). Sakon Nakhon: Sakon Nakhon Rajabhat University. (in Thai)
Saiyos, L., & Saiyos, A. (1995). Techniques of educational research. (4th ed.). Bangkok:Suweeriyasan. (in Thai)
Wongrattana, C., & Naiyaphat, A. (2008). Experimental research design and analytic statistic. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)