แนวทางการบริหารกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนด้านทักษะชีวิต ของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2

Main Article Content

กวีวัธน์ เมฆแสน
วจี ปัญญาใส

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางการบริหารกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนด้านทักษะชีวิต ของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส สังกัด สพป.แพร่ เขต 2 การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและปัญหา จากกลุ่มตัวอย่างผู้บริหาร และครู ทั้งหมด 227 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การศึกษาแนวทางการบริหารกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนด้านทักษะชีวิต ใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องจำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนภาพรวมมีการปฏิบัติในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติสูงที่สุด คือ ด้านการวัดและประเมินผล ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านการวางแผน ปัญหาการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัด สพป.แพร่ เขต 2 พบว่า ขาดการสนับสนุนการจัดสรรเรื่องงบประมาณ ครูผู้สอนขาดความเชี่ยวชาญ แนวทางการบริหารกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนด้านทักษะชีวิตของนักเรียน ด้านการวางแผน โรงเรียนควรจัดประชุม วางแผนการจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอต่อการจัดกิจกรรม เตรียมพร้อมด้านบุคลากร และกำหนดแนวปฏิบัติที่ชัดเจน ด้านการลงมือปฏิบัติ โรงเรียนควรสร้างความร่วมมือให้นักเรียนมีส่วนร่วม และสร้างความหลากหลายของกิจกรรมให้ครอบคลุมสอดคล้องกับชีวิตจริง ด้านครูผู้สอน โรงเรียนควรจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กำกับติดตามการนำผลการปฏิบัติกิจกรรมมาปรับปรุง หรือพัฒนา ด้านผู้บริหาร โรงเรียนควรสร้างเครือข่ายและประสานความร่วมมือจากทุกฝ่าย รวมถึงสร้างความตระหนัก ด้านการวัดและประเมินผล ให้มีการวัด ประเมินผลตามสภาพจริง และสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน


 

Article Details

How to Cite
เมฆแสน ก. ., & ปัญญาใส ว. . (2023). แนวทางการบริหารกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนด้านทักษะชีวิต ของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 . Journal of Modern Learning Development, 8(3), 51–68. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/259459
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ. ศ. 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย.

เกื้อกูล ศรีสวัสดิ์. (2549). การบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโรงเรียนวังศาลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 1. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เจษฎา บุญมาโฮม. (2558). หลักการแนะแนวและการพัฒนาผู้เรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นครปฐม: สไมล์ พริ้นติ้ง & กราฟิกดีไซน์.

ทรงพล เทพคํา. (2540). แนวทางการพัฒนาบริหารงานกิจกรรมนักเรียน มัธยมศึกษา อําเภอเชียงคํา จังหวัดพะเยา. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วรนาฎ สิทธ์ฤทธิ์. (2550). การบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาลำปางเขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง.

วิไลรัตน์ โกพลรัตน์. (2556). การดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนประถมศึกษา ในอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนครพนม.

สำนักคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย.

อุไรวรณ หยกแก้ว กมลวรเดช และมานี แสงหิรัญ. (2563). การศึกษารูปแบบการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนน้ำหมันหาดล้าสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(9), 344-358.