รูปแบบการนิเทศภายในที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนสาธิต

Main Article Content

สง่า วงค์ไชย
ธนชพร พุ่มภชาติ
พัชนี หนูพยัน
อัมภิรา สิงหณรงค์
กิตติมา สินสืบผล
ฤติมา พันธ์รุณ

บทคัดย่อ

          บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการนิเทศภายในที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนสาธิต การนิเทศภายในเป็นกระบวนการร่วมมือของครู บุคลากร และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้และกระบวนการทำงานของครูและบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ รูปแบบการนิเทศภายในที่สอดคล้องกับบริบทโรงเรียนสาธิตมีพื้นฐานมาจากการบูรณาการแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ แนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน และแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อหลอมรวมไปสู่การกำหนดองค์ประกอบให้มี 4 ประการ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการนิเทศ มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 3.1) ขั้นสร้างความเข้าใจร่วมกัน 3.2) ขั้นรวมพลังความคิด 3.3) ขั้นนิเทศแบบกัลยาณมิตร 3.4) ขั้นสะท้อนคิดอย่างสร้างสรรค์ 3.5) ขั้นร่วมมือกันทำวิจัย 4) การวัดและประเมินผล รูปแบบการนิเทศภายในที่เกิดจากการหลอมรวมสาระสำคัญของแนวคิดจะช่วยพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูและกระบวนการทำงานของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสมรรถนะการเรียนรู้ของผู้เรียนตามบริบทของโรงเรียนสาธิต

Article Details

How to Cite
วงค์ไชย ส., พุ่มภชาติ ธ. ., หนูพยัน พ. ., สิงหณรงค์ อ., สินสืบผล ก. ., & พันธ์รุณ ฤ. . (2023). รูปแบบการนิเทศภายในที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนสาธิต. Journal of Modern Learning Development, 8(3), 466–478. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/259478
บท
บทความวิชาการ

References

เกรียง ฐิติจำเริญพร, ชาริณี ตรีวรัญญู และสิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา. (2562). การพัฒนากระบวนการนำครูใหม่เข้าสู่วิชาชีพโดยใช้แนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันเป็นฐานร่วมกับการเป็นพี่เลี้ยงเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอน. วารสารครุศาสตร์, 47(1), 21-41.

ชาลิณี ตรีวรัญญู. (มปป.). “การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study: LS)” ใน หลากวิธี หลายมุมมอง เพื่อการสร้างครูสู่ศิษย์: เอกสารประมวลแนวคิดและแนวทางพัฒนาวิชาชีพครู. บังอร เสรีรัตน์, ชาริณี ตรีวรัญญู และเรวณี ชัยเชาวรัตน์ (บรรณาธิการ), (หน้า 29-45). กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน (สสค.).

ชาลิณี ตรีวรัญญู. (2560). การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน: แนวคิดและแนวทางสู่ความสำเร็จ. วารสารครุศาสตร์, 45(1), 299-319.

ฐาปนา จ้อยเจริญ. (2563).การพัฒนารูปแบบการนิเทศตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพร่วมกับการพัฒนาบทเรียนร่วมกันเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ร่วมกันเชิงรุกของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทิศนา แขมมณี. (2564). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพพรพรรณ ญาณโกมุท และคณะ. (2558). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในตามแนวคิดการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study). วารสารวิชาการ สถาบันการพลศึกษา, 7(3), 123-138.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2562). ทักษะ 7C ของครู 4.0 PLC & Log book. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และคณะ. (2565). สมรรถนะการนิเทศเชิงรุก ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มณีรัตน์ เย็นสวัสดิ์. (2564). การพัฒนารูปแบบการนิเทศด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูระดับประถมศึกษา โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู, 1(2), 169-193.

มนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2565). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุก. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสภา. (2564). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.

เรวณี ชัยเชาวรัตน์. (มปป.). ชุมนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (professional learning community: PLC) ใน หลากวิธี หลายมุมมอง เพื่อการสร้างครูสู่ศิษย์: เอกสารประมวลแนวคิดและแนวทางพัฒนาวิชาชีพครู. บังอร เสรีรัตน์, ชาริณี ตรีวรัญญู และ เรวณี ชัยเชาวรัตน์ (บรรณาธิการ), (หน้า 5-18). กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน (สสค.).

วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ช การพัฒนาวิชาชีพ: ทฤษฎี กลยุทธ์ สู่การปฏิบัติ. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัชรา เล่าเรียนดี, ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง และอรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21. นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้ง.

เวียงชัย แสงทอง และคณะ. (2565). การนิเทศภายในสถานศึกษายุคใหม่: นิเทศอย่างไรใรยุคนิวนอร์มอล. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, 17(1), 123-133.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้. (2563). การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก. กรุงเทพฯ: กลุ่มมาตรฐานการศึกษา สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อรพร คนสนิท และคณะ. (2565). รูปแบบการจัดการการนิเทศโรงเรียนเชิงรุกของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดมุกดาหาร. วารสารรัชตภาคย์, 16(45), 445-460.

Anna, P; Evans, K. D; Breeding, E. M & Arancibia, V. (2019). Teacher professional development around the world: The gap between evidence and practice. CGD Working. Washington, DC: Center for Global Development.

Fisher, D & Frey, N. (2014). Better learning through structured teaching. VA: ASCD.

Hord, S. M., Roussin, J. L., & Sommers, W. A. (2009). Guiding professional learning communities: Inspiration, challenge, surprise, and meaning. Corwin Press.