การบริหารจัดการห้องเรียนพิเศษของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

อวิรุทธ์ วังแก้ว
วจี ปัญญาใส

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการบริหารจัดการห้องเรียนพิเศษของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสุโขทัย การดำเนินการวิจัยมีดังนี้ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาการบริหารจัดการห้องเรียนพิเศษของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสุโขทัย ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการ ด้าน หลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านครูผู้สอน และด้านอุปกรณ์การเรียนและสิ่งอำนวยความสะดวก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สุโขทัย จำนวน 3 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 389 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.977 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการห้องเรียนพิเศษของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานวิชาการและหัวหน้างานห้องเรียนพิเศษ รวมทั้งสิ้น 18 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย


          ผลการวิจัย พบว่า การศึกษาสภาพปัญหาการบริหารจัดการห้องเรียนพิเศษของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสุโขทัย มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติการอยู่ในระดับมาก ( = 3.94, S.D. = .206) และแนวทางการการบริหารจัดการห้องเรียนพิเศษของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสุโขทัย พบว่า แนวทางการบริหารจัดการห้องเรียนพิเศษ ประกอบด้วย 3 แนวทาง คือ 1) แนวทางการบริหารจัดการครูผู้สอน 2) แนวทางการบริหารจัดการอุปกรณ์การเรียนและสิ่งอำนวยความสะดวก และ3) แนวทางการบริหารหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอน

Article Details

How to Cite
วังแก้ว อ. . ., & ปัญญาใส ว. . (2023). การบริหารจัดการห้องเรียนพิเศษของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสุโขทัย. Journal of Modern Learning Development, 8(3), 189–199. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/259498
บท
บทความวิจัย

References

เกวลิน ไชยสวัสดิ์,เรชา ชูสุวรรณ.(2557). การวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการศึกษา

ห้องเรียนพิเศษ โครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ (SME) ของโรงเรียน

มัธยมศึกษา. วารสารหาดใหญ่วิชาการ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. 34

จินรีย์ ตอทองหลาง. (2558). การศึกษาสภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และ

คณิตศาสตร์ ในโรงเรียนโยธินบูรณะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. วารสาร

อิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 77

ณฐกรณ์ ดำชะอม. (2562). การบริหารจัดการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม.วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 23

ณภัทร จารึกฐิต. (2561). การศึกษาการใช้หลักสูตร “โครงการห้องเรียนพิเศษ (GIFTED)” ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา.

รวีวรรณ ชินะตระกูล. (2533). คู่มือการทำวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์, 2533

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แนวทางการเปิดห้องเรียนพิเศษ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2559.

อาภรณ์ ใจเที่ยง.(2540). หลักการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์