การตลาดดิจิทัลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางผ่านตลาดออนไลน์ ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

เบญจวรรณ พัดสำฤทธิผล
มณีกัญญา นากามัทสึ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพทั่วไปของการตลาดดิจิทัลและการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางผ่านตลาดออนไลน์ (2) ศึกษาความสัมพันธ์ของการตลาดดิจิทัลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางผ่านตลาดออนไลน์ และ (3) นำเสนอปัจจัยทางการตลาดดิจิทัล ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางผ่านตลาดออนไลน์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามออนไลน์ เก็บข้อมูลในกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้บริโภคผ่านช่องทางออนไลน์ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และการวิเคราะห์ Multiple regression analysis แบบ Enter เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ของตัวแปร
          ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ช่วงอายุ 21-30 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001–30,000 บาท พบว่า ผู้บริโภคที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันจะมีการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางผ่านตลาดออนไลน์แตกต่างกัน (2) ปัจจัยทางการตลาดดิจิทัลและการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางผ่านตลาดออนไลน์มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันที่ระดับความสัมพันธ์สูงมากและ (3) ปัจจัยทางการตลาดดิจิทัลส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางผ่านตลาดออนไลน์ สามารถสร้างสมการพยากรณ์ คือ DEC =0.284(CON)+0.195(SOC)+0.236(WEB)+ 0.097(MAI)+0.138(INF) เรียงลำดับปัจจัยทางการตลาดดิจิทัลได้ดีที่สุด คือ ปัจจัยทางการตลาดดิจิทัลด้านการตลาดเชิงเนื้อหา รองลงมา คือ ด้านเว็บไซต์ เว็บไซต์สื่อกลางการติดต่อซื้อ–ขาย ด้านสื่อสังคมออนไลน์ ด้านกลุ่มผู้มีอิทธิพลมีชื่อเสียงและด้านการตลาดผ่านอีเมล ตามลำดับ ที่ระดับความเชื่อมั่นทางสถิติที่ 0.05

Article Details

How to Cite
พัดสำฤทธิผล เ. ., & นากามัทสึ ม. . (2023). การตลาดดิจิทัลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางผ่านตลาดออนไลน์ ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. Journal of Modern Learning Development, 8(5), 64–80. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/260177
บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2565). พาณิชย์ เปิด 10 ธุรกิจที่น่าจับตามองปี 2565. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2565. แหล่งที่มา: https://www.thestreetratchada.com/Blogs/88/trendy-bu siness-ideas.

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2563). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562. ออนไลน์. สืบคืนเมื่อ 7 มิถุนายน 2565. แหล่งที่มา: https://www.e tda.or.th/th/NEWS/ETDA-Revealed-Thailand-Internet-User-Behavior-2019.aspx.

ณัฐพล ใยไพโรจน์. (2563). Digital Marketing Concept & Case Study ฉบับรับมือ New Normal หลัง COVID-19 (พิมพ์ครั้งที่ 7). นนทบุรี: บริษัท ไอดีซี พรีเมียร์ จำกัด.

ธิคณา ศรีบุญนาค และอุมาพร พงษ์สัตยา. (2562). ส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางเกาหลีผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2 (3), 88-100.

พรพรรณ ตาลประเสริฐ. (2561). อิทธิพลของการตลาดแบบดิจิทัลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคกลุ่มธุรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

มณีวรรณ แก้วหาวงศ์ และชัญญาภัค หล้าแหล่ง. (2564). การตลาดดิจิทัลและรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดชุมพร. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา. 10 (1), 36-44.

วรรณวิไล โพธิชัย และสุปราณี ปาวิลัย. (2564). ปัจจัยทางการตลาดดิจิทัลที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านช่องทาง e-Marketplace ในกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมนักวิจัย. 26 (3), 259-277.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). ค้าปลีก 2563 คาดโต 2.8% กำลังซื้อผู้บริโภคยังคงกดดันการเติบโตของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2565. แหล่งที่มา: https://www.kasikorn research.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/z3052.aspx.

ศูนย์วิจัยด้านการจัดการยุทธศาสตร์และการปฏิบัติการ. (2559). ยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกลุ่มอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ (Bio-Based Industry): อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง. กรุงเทพมหานคร: ปัณณธร มีเดีย.

สำนักงานพัฒนาธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์. (2564). e-Commerce ไทย ยุคหลัง COVID-19. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2565. แหล่งที่มา: https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/ Knowledge-Sharing/Perspective-on-Future-of-e-Commerce.aspx

เหมือนจิต จิตสุนทรชัยกุล. (2561). กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Best, J. W. (1977). Research in Education. (3rd ed). New Jersey: Prentice-hall Inc.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2014). Pearson New International Edition. In Multivariate Data Analysis (7th Ed). Essex: Pearson Education Limited Harlow.

Hambleton, R. K., & Cook, L. L. (1977). Latent trait models and their use in the analysis of educational test data. Journal of educational measurement. 14 (2), 75-96.

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of psychology. 22 (140), 1-55.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis (3rd ed). New York: Harper and Row.