ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กร แห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)ระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนเหนือ2) ระดับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนเหนือ และ 3) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนเหนือ กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้บริหารและครู ในสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนเหนือ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .943วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยวิธีของเพียร์สัน (Pearson’s correlation) วิเคราะห์พหุคูณอย่างง่าย โดยวิธี Stepwise (Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1)ระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนเหนือในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านการตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียน รองลงมา คือด้านการจัดให้มีสิ่งส่งเสริมการเรียนรู้แก่ผู้เรียน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการสื่อสารเป้าหมายของโรงเรียน2) ระดับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนเหนือ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการเป็นบุคคลรอบรู้ รองลงมา คือ ด้านแบบแผนความคิด และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม3)ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการมอบหมายงานให้ครูดูแลเอาใจใส่ผู้เรียน (X8) และด้านการจัดให้มีสิ่งส่งเสริมการเรียนรู้แก่ผู้เรียน (X11) ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนเหนือภาพรวม (Ytot) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการถดถอยได้ดังนี้
สมการคะแนนดิบ Y' = 2.080 + 0.375(X8) + 0.143(X11) (R2 = 0.484)
สมการคะแนนมาตรฐาน Zy′ = 0.522(X8) + 0.213(X11) (R2 = 0.484)
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จุฑาทิพย์ ชัยบัณฑิต. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นาทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาเขต 16. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา ยุคปฏิรูปการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพมหานคร.
ปิยะวรรณ แวววรรณจิตต์. (2561). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตทุ่งครุ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารและการจัดการการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุกฤตา วัฒนเกษมสกุล. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลาเขต 3. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สมถวิล ศิลปคนธรรพ์ . (2556). ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Best, John W. 1977. Research in Education. (3rd ed). Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice Hall, Inc
Davis, G. A., & Tomas, M. A. (1989). Effective schools and effective teacher. Boston: Allyn and Bacon.
Hallinger, P., & Murphy, M. ( 1985).Assessing the instructional management behavior of principals. The Elementary School Journal. 8 (6), 221-224.
Kaiser, Sandra M. (2000). Mapping the Learning Organization: Exploring A Model of OrganizationalLearning.N.P.: Dissertation for the Louisiana State University. Retrieved from https://digitalcommons.lsu.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=8202&
context=gradschool_disstheses.
Leithwood, K. (2006). A review of the research: Education leadership. The laboratory forstudent success at temple university center for research in human development and education. University of Toronto. Online. Retrieved on August 28, 2006 from http://www.temple.edu/lss.
Senge, P.M. (1990). The Fifth Discipline: The Artand Practice of the Learning Organization. New York: Doubleday Currencey.