ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารกิจกรรมลูกเสือกับการประเมินคุณภาพงานลูกเสือภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร

Main Article Content

ขวัญเมือง ชูกร
นิษฐ์สินี กู้ประเสริฐ
ปฐมพรณ์ อินทรางกูร ณ อยุธยา
พรพิรุณ วงศ์สมุด

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 2) ระดับการประเมินคุณภาพงานลูกเสือภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารกิจกรรมลูกเสือกับการประเมินคุณภาพงานลูกเสือภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้อำนวยการลูกเสือและผู้กำกับลูกเสือในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ในปีการศึกษา 2564 จำนวน 344 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane (1973) และเลือกตัวอย่างโดยใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น จำแนกตามเขตอำเภอ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยวิธีของเพียร์สัน
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ระดับการประเมินคุณภาพงานลูกเสือภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) การบริหารกิจกรรมลูกเสือมีความสัมพันธ์ทิศทางบวกกับกับการประเมินคุณภาพงานลูกเสือภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในภาพรวมอยู่ระดับค่อนข้างสูง (r = 0.946)

Article Details

How to Cite
ชูกร ข., กู้ประเสริฐ น. . ., อินทรางกูร ณ อยุธยา ป. ., & วงศ์สมุด พ. . (2023). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารกิจกรรมลูกเสือกับการประเมินคุณภาพงานลูกเสือภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. Journal of Modern Learning Development, 8(7), 220–232. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/260946
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). แนวการจัดกิจกรรมแนะแนวตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรองแก้ว จันทร์เกตุ. (2548). สภาพและปัญหาการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐ จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ดาริน สุทธิสะอาด. (2547). ปญหาในการบริหารกิจกรรมพัฒนาผูเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.

ศิริกมล พุมมา. (2562). การบริหารงานลูกเสือกับผลการประเมินตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพงานลูกเสือภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 และ เขต 2. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

สายฟ้า หาสีสุข. (2563). การพัฒนาแนวทางการบริหารกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไข. เพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพมหานคร: สํานักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบลูกเสือ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2556). เกณฑ์การประเมินคุณภาพงานลูกเสือภายในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สกสค. ลาดพร้าว.

หทัยภัทร จีนสุทธิ์. (2563). รูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 3 ในจังหวัดนนทบุรี. ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

อำไพ โสดาดี. (2562). บทบาทผู้บริหารกับการนำและการจัดการลูกเสือที่ดีในโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อรุณี อินทรปญญา. (2548). ปญหาการจัดกิจกรรมพัฒนาผูเรียนในโรงเรียนมัธยมศกษาของรัฐจังหวัดนนทบุรี. วิทยานพนธิ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.

Taro Yamane(1973 ). Statistics: An Introductory Analysis. (3rdEd). New York.Harper and Row Publications.

The Scout Association London Gilwell Park Chingford. (2011). Good scouting leadership and management. Online. Retrieved June. 28 2022. from http://www.scouts.org.uk.