ปัจจัยที่มีผลต่อความภักดีต่อองค์การของครูในสถานศึกษาเอกชนของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาค่าเฉลี่ยของตัวแปรการสนับสนุนจากหัวหน้างาน ความไว้วางใจในองค์การ ความผูกพันต่อองค์การและความพึงพอใจในงานกับความภักดีต่อองค์การของครูในสถานศึกษาเอกชนของประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อความภักดีต่อองค์การของครูในสถานศึกษาเอกชนของประเทศไทยในด้านการสนับสนุนจากหัวหน้างาน ความไว้วางใจในองค์การ ความผูกพันต่อองค์การและความพึงพอใจในงานกับความภักดีต่อองค์การ และ 3) เพื่อสร้างสมการทำนายของความภักดีต่อองค์การของครูในสถานศึกษาเอกชน กลุ่มตัวอย่างคือ ครูประจำการในสถานศึกษาเอกชนของประเทศไทยจำนวน 1,000 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันโพรดักโมเมนต์และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณแบบเป็นขั้นตอน
ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1) การสนับสนุนจากหัวหน้างานเป็นตัวแปรที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ความภักดีต่อองค์การ ความพึงพอใจในงาน ความผูกพันต่อองค์การและความไว้วางใจในองค์การ 2) ตัวแปรการสนับสนุนจากหัวหน้างาน ความไว้วางใจในองค์การ ความผูกพันต่อองค์การและ ความพึงพอใจในงานมีความสัมพันธ์กับตัวแปรความภักดีต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ตัวแปรการสนับสนุนจากหัวหน้างาน ความไว้วางใจในองค์การ ความผูกพันต่อองค์การและความพึงพอใจในงานสามารถร่วมกันทำนายความแปรปรวนในตัวแปรความภักดีต่อองค์การ (LOY) ได้ร้อยละ 93.60 มี ตัวแปรการสนับสนุนจากหัวหน้างาน (SUP) และความพึงพอใจในงาน (SAT) เป็นตัวแปรพยากรณ์ที่ดีที่สุดโดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยมาตรฐานเท่ากับ .487 และตัวแปรความผูกพันต่อองค์การ (COM) เป็นตัวแปรพยากรณ์ที่มีค่าต่ำสุดเท่ากับ .040 ในการศึกษาครั้งต่อไปควรมีการศึกษาตัวแปรอิสระเพิ่มขึ้น เช่น สภาพแวดล้อมในการทำงาน การทำงานเป็นทีมและแรงจูงใจในการทำงาน
Article Details
References
ชัชวาล อรวงศ์ศุภทัต. (2564). ความจงรักภักดี = โอกาสทางธุรกิจ HR ต้องสรรหาคนแบบไหนมาทำงาน ?. ออนไลน์. สืบค้น 2 ตุลาคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.jobbkk.com/variety/detail/5378
ชินวัฒน์ ปานมั่งมี. (2563). ภาวะผู้นำเชิงคุณภาพของผู้บริหารกับการ ดำเนินงานวัฒนธรรมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2. วารสารศิลปการจัดการ. 4 (3), 686 - 699.
นิดา แก้วสว่าง และ รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2561). ปัจจัยการคงอยู่ของครูโรงเรียนเอกชนตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกประถมศึกษาสงขลาเขต 2 จังหวัดสงขลา. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา. 2 (3), 53 - 70.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สุวีระยาสาส์น.
ประภาศ ปานเจี้ยง. (2562). วันครู รัฐบาลดูแลครูเอกชน. ออนไลน์. สืบค้น 2 ตุลาคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.matichon.co.th/article/news_1317529.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับบัณฑิตยสถานพุทธศักราช 2542. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุกส์พับลิเคชั่น.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2564). รายงานประจำปี 2564. ออนไลน์. สืบค้น 2 ตุลาคม 2565. แหล่งที่มา: https://shorturl.asia/I6mUO
Colquitt, J. A., Lepine, J. A. and Wesson, M. J. (2009). Organizational Behavior : ImprovingPerformance and Commitment in the Workplace. Singapore : McGraw-Hill.
Durkin, D. M. (2005). The Loyalty Advantage : Essential steps to energize your company, your customer, your brand. New York : AMACOM.
Gibson, J. L., Ivancevich, J.M., Donnelly, J.H. and Konopaske, R. (2006). Organizations : Behavior,Structure, Processes. 12rd ed. New York : McGraw-Hill.
Griffin, R. W. and Moorhead, G. (2007). Organizational Behavior Managing People and Organizations. 8th ed. Boston, New York : Houghton Mifflin.
Handayani, Z. T., Wibowo, Umar, H., & Sitinjak, T. (2021). Loyalty of Traditional Food Small
Industry Employees. International Journal of Arts and Social Science. 4 (4), 275-292.
Khuong, M. N., & Tien, B. D. (2013). Factors influencing employee loyalty directly and indirectly through job satisfaction–A study of banking sector in Ho Chi Minh City.International Journal of current research and academic review. 1 (4), 81-95.
Lewicka, D., Glinska-Newes, A., Morrow, D., & Gorka, J. (2018). The effect of job characteristics
on employee loyalty: The mediation role of vertical trust and perceived supervisory support. Marketing and Management of Innovations, 2, 168-185.
Likert, R. (1932). A technique for measurement of attitudes. Archives of Psychology. 140, 3-55. Retrieved from https://legacy.voteview.com/pdf/Likert_1932.pdf
Ngo, Q. V., Tran, T. Q. and Luu, T. C. (2021). Corporate social responsibility and employee loyalty: Role of pride and commitment. Proceedings of the International Conference
on Research in Management & Technovation, 28, 237–242.
Robbins, S. P. (2005). Essentials of Organizational Behavior. 8th ed. Upper Saddle River, New
Jersey : Prentice-Hall.
Robbins, S. P. and Judge, T. A. (2009). Organizational Behavior. Upper Saddle River, New Jersey : Prentice-Hall.
Sihombing, S. O., Berlianto, M. P. (2017). Antecedents of Employee Loyalty in Educational Setting: An Empirical Study. International Research Journal of Business Studies, 10
(2), 99-109.
Singh, P. (2022). Interpersonal Trust, Employee Satisfaction, and Employee Loyalty: A Social
Research Study. Journal of Contemporary Issues in Business and Government, 28 (4),
-767.
Vilares, M. J. and Coelho, P. S. (2003). The employee-customer satisfaction chain in the ECSI. European of Marketing 37 (11/12) : 1703-1722.