การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่องชนิดของคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลพะโต๊ะที่สอนโดยใช้ หนังสือเสริมประสบการณ์กับการสอนแบบปกติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างหนังสือเสริมประสบการณ์ วิชาภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทย เรื่องชนิดของคำ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการสอนโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ กับการสอนแบบปกติ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการสอนโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์วิชาภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนอนุบาลพะโต๊ะ ได้มาจากวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยการจับฉลากแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้อง สอนโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ ได้แก่ นักเรียนห้อง ป.5/2 และกลุ่มควบคุม 1 ห้อง โดยใช้การสอนแบบปกติ ได้แก่ นักเรียนห้อง ป.5/1
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย หนังสือเสริมประสบการณ์ เรื่องชนิดของคำ จำนวน 8 เล่มแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องชนิดของคำที่สอนโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ จำนวน 8 แผน แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องชนิดของคำ โดยใช้การสอนแบบปกติ จำนวน 8 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่องชนิดของคำ จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาไทย โดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ เรื่องชนิดของคำ ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญและหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบค่า t-test แบบ independent
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) หนังสือเสริมประสบการณ์ วิชาภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 83.63/84.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 ที่กำหนดไว้ (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่สอนโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์สูงกว่าการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาภาษาไทย โดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ เรื่อง ชนิดของคำ อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เกศินี ไพศาลภูมิ. (2561). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาภาษาไทย เรื่องชนิดของคำสำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์. หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ฉัตรธิดา ศัพทเสวี. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่องการเขียนมาตราตัวสะกดของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดราชปักษีที่สอนโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ. 8 (1), 103-118.
ทิพยฉัตร พละพล. (2561). การพัฒนาชุดการสอนภาษาไทย เรื่องชนิดของคํา สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ธิวากร โมฆรัตน์. (2562). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนศาลเจ้า (ห้าวนุกูลวิทยา) ที่เรียนโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์กับการเรียนแบบปกติ. เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา. 23 พฤษภาคม 2563. วิทยาลัยนครราชสีมา. จังหวัดนครราชสีมา: สำนักวิจัยและพัฒนา.
Zhang Yuan. (2017). การสร้างหนังสือเสริมประสบการณ์ภาษาไทย เรื่องเทศกาลสำคัญของจีน. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.