ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีการศึกษา 2564 กรณีศึกษา : วิชา 0300130 คณิตศาสตร์วิศวกรรม 1

Main Article Content

เสาวลักษณ์ เรียงพรม
เกสร วงศ์เกษม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีการศึกษา 2564 กรณีศึกษา : วิชา 0300130 คณิตศาสตร์วิศวกรรม 1 2) เพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาและการแก้ไขปัญหารายวิชาพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คืออาจารย์ผู้สอนวิชา 0300130 คณิตศาสตร์วิศวกรรม ซึ่งมีการจัดการเรียนการสอนเป็น   14 กลุ่ม โดยมีผู้เรียนเฉลี่ยกลุ่มละ 80 คน  เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 แบบสอบถามนี้ประกอบไปด้วย 4 ปัจจัยได้แก่ ด้านผู้สอน ด้านบทเรียน ด้านผู้เรียน และด้านเทคโนโลยี  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีทางสถิติเพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลมากที่สุดต่อการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ของวิชาคณิตศาสตร์วิศวกรรม 1 คือด้านผู้สอน ปัจจัยนี้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.176  ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการเรียงการสอนรองลงมาคือด้านบทเรียน, ด้านเทคโนโลยี และด้านผู้เรียน ซึ่งปัจจัยทั้งสามมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.000 3.762 และ 3.519 ตามลำดับ 
          ในส่วนของข้อเสนอแนะหลักๆ สำหรับการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ วิชา 0300130 คณิตศาสตร์วิศวกรรม 1 มีดังนี้ ผู้สอนควรมีการตกลงและทำความเข้าใจในระหว่างกลุ่มผู้สอนเรื่องเนื้อหาหรือการใช้สื่อการเรียนการสอนที่ตรงกัน ตลอดจนมีแนวทางการให้โจทย์การบ้านเพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกเพิ่มเติมในแนวเดียวกัน สามารถกล่าวได้ว่าผลของงานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามที่เป็นรายวิชาพื้นฐานหรือวิชาที่มีผู้สอนหลายคน ได้อย่างมีทิศทางชัดเจนมากขึ้น


 

Article Details

How to Cite
เรียงพรม เ. ., & วงศ์เกษม เ. . (2023). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีการศึกษา 2564 กรณีศึกษา : วิชา 0300130 คณิตศาสตร์วิศวกรรม 1. Journal of Modern Learning Development, 8(9), 206–216. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/262480
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). เรื่องให้สถานศึกษาในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาการปิดเรียนด้วยเหตุพิเศษ. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ, 2563.

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. รายงานการประชุมสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์. ครั้งที่ 6/2556 วันที่ 27 มีนาคม 2556.

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. รายงานการประชุมกรรมการวิชาการคณะวิศวกรรมศาสตร์. ครั้งที่ 5/2564 วันที่ 7 เมษายน 2564.

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. รายงานการประชุมสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์. ครั้งที่ 7/2564 วันที่ 5 พฤษภาคม 2564.

เจริญ ภูวิจิตรและคณะ. (2564). การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล. RajaparkJournal Vo. 15 (40), 35.

มาลีวัล เลิศสาครศิริ และคณะ. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนผ่านระบบออนไลน์ของนักศึกษาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์จากสถานการณ์โควิด-19. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ. (7) 1, 13-14.

รายงานประจำปี. (2562). คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. หน้า 7.

วัชราภรณ์ สุริยาภิวัฒน์. (2556). วิจัยธุรกิจยุคใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2556). โลกเปลี่ยนไทยปรับ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร : บริษัทซีเอ็ดยุเคชั่น จำกัด (มหาชน).