ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของ องค์การบริหารส่วนตำบลสะอาดไชยศรี อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

ชุติพงศ์ สารขันธ์
เสาวลักษณ์ นิกรพิทยา
สิทธิพรร์ สุนทร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น 2) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและมีสิทธิเลือกตั้งในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสะอาดไชยศรี อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 353 คน
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติสัมประสิทธิ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง โดยวิธี Enter
          ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลสะอาดไชยศรี อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวม ทั้ง 4 ปัจจัย ประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล  ปัจจัยทางการเมือง ปัจจัยการติดต่อสื่อสาร  ปัจจัยสิ่งแวดล้อม สามารถอธิบายตัวแปรตาม คือ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลสะอาดไชยศรี อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ร้อยละ 72.30 มีค่า R2 เท่ากับ .723 มีค่า F เท่ากับ 227.333 และมีค่า Adjusted R2 เท่ากับ .720

Article Details

How to Cite
สารขันธ์ ช. ., นิกรพิทยา เ. ., & สุนทร ส. . (2023). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของ องค์การบริหารส่วนตำบลสะอาดไชยศรี อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์. Journal of Modern Learning Development, 8(10), 251–264. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/262880
บท
บทความวิจัย

References

ตะวัน ตระการฤกษ์. (2552). การมีส่วนร่วมของราษฎรอาสาในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในเขตรับผิดชอบของสถานีตำวจภูธรเมืองสมุทรสาคร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธนกฤต โพธิ์เงิน. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดปทุมธานี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ.5 (10), 181-195.

ธนพัต วรัทอัครกุล. (2557). การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ประยงค์ พุทธา. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าค้อ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏ

วราภรณ์ ปานะพิพัฒน์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลในจังหวัดสุราษฏร์ธานี. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

สราวุธ สืบเพ็ชร์ และสิทธิพรร์ สุนทร. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลทะเลทรัพย์ อำเภอประทิว จังหวัดชุมพร. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

องค์การบริหารส่วนตำบลสะอาดไชยศรี. (2564). รายงานผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและนายกองค์การบริหารส่วนตำบล. กาฬสินธุ์: ศูนย์ประสานงานการเลือกตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลสะอาดไชยศรี.

องค์การบริหารส่วนตำบลสะอาดไชยศรี. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2565-2570. กาฬสินธุ์: งานนโยบายและแผน องค์การบริหารส่วนตำบลสะอาดไชยศรี.

Andrew, P. C. and Stiefel, M. (1980). Inquiry into participation: A research approach. Geneva : United Nations Research Institute for Social Development.

Yamane, Taro. (1973). Statistics an Introductory Analysis. 3rd ed. New York : Harper & Row.