การพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องตามจินตนาการและสร้างสรรค์ ด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบประสบการณ์ ร่วมกับเทคนิคการสร้างสรรค์งานเขียนแบบสตอรีไลน์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์ร่วมกับเทคนิคการสร้างสรรค์งานเขียนแบบสตอรีไลน์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเขียนเรื่องตามจินตนาการและสร้างสรรค์ก่อนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเขียนเรื่องตามจินตนาการและสร้างสรรค์ กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดพระฝาง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 21 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนการสอนแบบประสบการณ์ร่วมกับเทคนิคการสร้างสรรค์งานเขียนแบบสตอรีไลน์ 2) แบบทดสอบการวัดผลสัมฤทธิ์ เรื่อง การเขียนเรื่องตามจินตนาการและสร้างสรรค์ และ
3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ใน
การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test Dependent และt-test One-Sample
ผลการวิจัยพบ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์ ร่วมกับเทคนิค
การสร้างงานเขียนแบบสตอรีไลน์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความเหมาะสม ระดับมาก
( = 4.38, S.D. = 0.85) 2) ผลสัมฤทธิ์ทักษะการเขียนเรื่องตามจินตนาการและสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) การพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องตามจินตนาการและสร้างสรรค์ คะแนนการทดสอบหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 4) ความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบประสบการณ์ร่วมกับเทคนิคการสร้างสรรค์งานเขียนแบบสตอรีไลน์อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.63, S.D = 0.82)
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กิตติคม คาวีรัตน์. (2553). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะ สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พระมหาณัฐพงศ์ คำมี. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความโดยใช้นิทานธรรมบท เสริมด้วยเทคนิคการสอนแบบ Storyline สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
โรงเรียนวัดพระฝาง. รายงานประจำปีของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ประจำปีการศึกษา 2563. อุตรดิตถ์: โรงเรียนวัดพระฝาง.
สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2553). หลักการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนและการประเมินตามสะภาพจริง. กรุงเทพมหานคร: ดวงกมลพับลิชชิ่ง.
สุจิตรา ตรีรัตนนุกูล. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงประสบการ สำหรับส่งเสริมกรอบ ความคิดด้านเชาว์ปัญญาของนักศึกษาระดับอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา
อารีย์ ศรีสุกอง. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.