การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่กรณีศึกษาเทศบาลตำบลพันเสา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

ไพฑูรย์ สนสาย
โชติ บดีรัฐ

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ ใช่ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มอย่าง คือ ประชาชน จำนวน 376 คน ที่ได้จากสูตรของยามาเน่ เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.880 สถิติ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test และ F-test
           ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบ พบว่า ประชาชนที่มี เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ และระยะเวลาอาศัยอยู่ในพื้นที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ ไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะและแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ พบว่า  เทศบาลควรสร้างกลไกหรือช่องทางให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย ร่วมในกระบวนการตัดสินใจ ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น จัดให้มีการฝึกอบรม ให้ความรู้ มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่างๆ และเปิดช่องทางใหม่ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการติดตาม ตรวจสอบการปฏิบัติงานของเทศบาล


 

Article Details

How to Cite
สนสาย ไ. ., & บดีรัฐ โ. . (2023). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่กรณีศึกษาเทศบาลตำบลพันเสา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. Journal of Modern Learning Development, 8(11), 248–259. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/263138
บท
บทความวิจัย

References

เทศบาลตำบลพันเสา. (2565). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2561-2565). พิษณุโลก: เทศบาลตำบลพันเสา.

นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2552). หลักกฎหมายปกครองเกี่ยวกับบริหารสาธารณะ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

ปานพิมพ์ พันธุ์เสือ. (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 7 (1), 137-162.

ภัทราวดี อ่ำคูณ. (2565). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์. การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศษสตร์. คณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.

วิโรจน์ ก่อสกุล. (2563). กระบวนการระเบียบวิธีวิจัยเอกสารประกอบการบรรยาย. เอกสารประกอบการบรรยาย. กรุงเทพมหานคร: โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สันติ ปัญญา. (2565). แนวทางการบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาในระดับพื้นที่อำเภอ กรณีศึกษาอำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร. การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศษสตร์. คณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.

อัมรินทร์ อิ่มเอม. (2561). การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนต่อการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลคลองวัว อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง.วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

Cohen, J.M., and Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation : Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Ithaca, New York : Rural Development Committee Center for International Studies, Cornell University.