ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

ศิรประภา รอดแก้ว
ธนัสถา โรจนตระกูล

บทคัดย่อ

         การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3) ข้อเสนอแนะและแนวทางการสร้างความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชาชน คือ พนักงานจ้างทั่วไป และพนักงานจ้างตามภารกิจ จำนวน 196 คน โดยศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.926 สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และจากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความสำเร็จในการทำงานของบุคคล และการได้รับการยอมรับนับถือ ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วน ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านอื่นไม่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร และ 3) ข้อเสนอแนะและแนวทางการสร้างความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมอบหมายภาระหน้าที่ให้ตรงกับความรู้ ความสามารถและความถนัดของบุคลากร  ควรให้ความสำคัญกับสวัสดิการด้านสุขภาพและด้านนันทนาการของบุคลากร และควรให้การสนับสนุนและยอมรับความรู้ และความสามารถในการปฏิบัติงานของบุคลากร

Article Details

How to Cite
รอดแก้ว ศ. ., & โรจนตระกูล ธ. . (2023). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย. Journal of Modern Learning Development, 8(10), 373–387. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/263143
บท
บทความวิจัย

References

ชญานุช วุฒิศักดิ์. (2563). การสร้างความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรส่วนงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในธุรกิจค้าปลีก กรณีศึกษาธุรกิจค้าปลีกมรกต. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

ณัช อุษาคณารักษ์. (2554). ความผูกพันของพนักงาน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ13 สิงหาคม 2565. แหล่งที่มา: http://www. hrcenter.co.th.

บุญอนันต์ พินัยทรัพย์. (2562). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: คณะรัฐประศาสนศษสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

ยงยุทธ เกษสาคร. (2547). ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม. (พิมพ์ครั้งที่ 6). นนทบุรี: ปณณรัชต.

วันทนา ขวัญสวย. (2562). ปัจจัยด้านแรงจูงใจที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการสังกัดกรมการปกครอง จังหวัดพิจิตร. การค้นคว้าอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ศิริวรรณ บัวโชติ. (2565). ความผูกพันของข้าราชการธุรการที่มีต่อสำนักงานอัยการภาค 6. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

สมจิตร จันทร์เพ็ญ. (2557). ความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารพัฒนาสังคม) คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุภาวิณี กองแก้ว. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของบุคลากร ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก จังหวัดพิษณุโลก. การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการจัดการและพัฒนาท้องถิ่น. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

หนึ่งฤทัย สร้อยยอดทอง. (2564). ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก. การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการจัดการและพัฒนาท้องถิ่น. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอศรีสำโรง. (2565). แผนอัตรากำลัง 3 ปี พ.ศ.2564 - 2566 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอศรีสำโรง. สุโขทัย: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอศรีสำโรง.

อนุดิษฐ์ ฐานไชยกร. (2562). ความผูกพันในองค์การ. Journal of Roi Kaensarn Academi. 4 (1), 32-45.

Steers, R.M. & Porter, L.W. (1983). Motivation and Work Behavior. (3rd ed.). New York : McGraw - Hill.