บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทที่ปฏิบัติจริงและบทบาทที่คาดหวังของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 และ 2) เปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) กลุ่มตัวอย่างการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 13 คน และข้าราชการครู จำนวน 219 คน รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 232 คน ซึ่งสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Sampling) แบ่งตามสัดส่วนและจับฉลาก เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบเอฟแบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ในกรณีพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยจะทำการทดสอบเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีการของ Fisher’s Least Significant Difference (LSD)
ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทที่ปฏิบัติจริงและบทบาทที่คาดหวังของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยบทบาทที่ปฏิบัติจริงมีค่าเฉลี่ย 4.09/ S.D. 0.58 และบทบาทที่คาดหวังมีค่าเฉลี่ย 4.28/ S.D. 0.51
2) การเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา โดยภาพรวมไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านกับขนาดสถานศึกษา โดยทำการทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ พบว่า ด้านบทบาทที่ปฏิบัติจริงด้านการสร้างภาคีเครือข่ายส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
References
กันตินันท์ การะพัตร. (2563). สภาพและปัญหาการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ครรชิต ชัยกิจ, ละเอียด จงกลนี, และ จุฬาพรรณ ภรณ์ธนะแพทย์. (2563). ภาวะผู้นำทางวิชาการและพุทธวิธีในการจัดการศึกษา. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 10 (2), 165-175.
เบญจวรรณ ช่อชู. (2563). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน วิชูทิศ สำนักงานเขตดินแดง สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พิรุณ อนวัชศิริวงศ์, และถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์. (2554). อ่านสร้างสุข: สร้างวัฒนธรรมการอ่านสร้างการอ่านให้เป็นวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: แปลนพลิ้นท์ติ้ง.
พิสมัย ดวงพิมาย. (2560). การส่งเสริมการอ่านของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ศิริชัย กาญจนวาสี, ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์, และดิเรก ศรีสุโข. (2555). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุทธิชัย ปัญญโรจน์. (2555). คุณประโยชน์ของการอ่านคือหน้าต่างแห่งโลกกว้าง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2564. แหล่งที่มา: https://www.gotoknow.org/posts/496286
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). แนวทางการดำเนินงานส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). คู่มือการดำเนินงานกิจกรรมโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและการพัฒนาห้องสมุด ประจำปีงบประมาณ 2561. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.
สำนักงานศึกษาธิการภาคเหนือ. (2563). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาระดับภาคเหนือ. เชียงใหม่: ผู้แต่ง.
Palani, K.K. (2012). Promising Reading Habits and Creating Literate Social. International Reference Research Journal. 3, 2 (1), 91.