กลวิธีใช้ความเปรียบจากหัวข้อธรรมในคำกลอนของพุทธทาสภิกขุ

Main Article Content

กัลยา กุลสุวรรณ
พชรกฤต ศรีบุญเรือง
พระครูคัมภีร์ ธรรมานุวัตร

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีจุดประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีใช้ความเปรียบของพุทธทาสภิกขุในกวีนิพนธ์ชุด “หัวข้อธรรมในคำกลอน” จากภาคแรกของหนังสือ“หัวข้อธรรมในคำกลอน และ บทประพันธ์ของสิริวยาส” ของพุทธทาสภิกขุ จำนวน 12 หมวด ซึ่งเขียนเป็นกวีนิพนธ์ประเภทกลอนแปดจำนวน 126 เรื่อง แนวคิดที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ แนวคิดเกี่ยวกับภาษาคน-ภาษาธรรมและแนวคิดเกี่ยวกับความนึกเปรียบ ผลการศึกษาพบว่า ความเปรียบมี 2 ประเภท คือ 1) ความเปรียบประเภทโวหารภาพพจน์ มี 3 ลักษณะจากปริมาณจากมากไปหาน้อย คือ โวหารภาพพจน์ประเภทอุปลักษณ์  บุคลาธิษฐาน และอุปมา และ 2) ความเปรียบประเภทถ้อยธรรม ซึ่งเป็นภาษาธรรมที่ผู้ประพันธ์สร้างสรรค์ขึ้นประกอบการสื่อพุทธธรรมผ่านองค์ประกอบต่าง ๆ ในกวีนิพนธ์ชุดนี้ 3 ลักษณะ จากปริมาณมากไปหาน้อย คือ ถ้อยธรรมในวลี  ถ้อยธรรมในประโยคและข้อความ และถ้อยธรรมในคำ การใช้ความเปรียบสื่อพุทธธรรมในกวีนิพนธ์ชุดนี้แสดงถึงอัตลักษณ์ทางวรรรศิลป์ในการสร้างสรรค์พุทธกวีนิพนธ์ของพุทธทาสภิกขุ เป็นองค์ความรู้ที่เอื้อประโยชน์ต่อการเผยแผ่แก่นพุทธธรรมและการใช้ความเปรียบในกวีนิพนธ์ 

Article Details

How to Cite
กุลสุวรรณ ก. ., ศรีบุญเรือง พ. ., & ธรรมานุวัตร พ. . (2023). กลวิธีใช้ความเปรียบจากหัวข้อธรรมในคำกลอนของพุทธทาสภิกขุ. Journal of Modern Learning Development, 8(3), 312–323. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/263530
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา กุลสุวรรณ. (2553). วาทกรรมคำสอนของพุทธทาสภิกขุ. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทองสุข เกตุโรจน์ (แปลและเรียบเรียง). (2529). อธิบายศัพท์วรรณคดี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.

พุทธทาสภิกขุ. (2529). หัวข้อธรรมในคำกลอน. กรุงเทพมหานคร: สวนอุศมมูลนิธิ.

พุทธทาสภิกขุ. (ม.ป.ป.). ภาษาคน-ภาษาธรรม. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

ดวงมน จิตร์จำนง. (2556). วรรณคดีวิจารณ์เบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: ประพันธ์สาส์น.

สมเกียรติ รักษ์มณี. (2551). ภาษาวรรณศิลป์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สายน้ำใจ.

สุจิตรา จงสถิตวัฒนา. (2544). พุทธธรรมในกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวรรณา สถาอานันท์. (2536). ปรัชญาพุทธทาสภิกขุกับมหายานธรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อำนวย ยัสโยธา. (ม.ป.ป.). “ภูมิปัญญาการนำทางสู่เนื้อธรรมของท่านพุทธทาส,” ใน ภูมิปัญญาทักษิณจาก

วรรณกรรมและพฤติกรรม. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.