การศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับ วีดิทัศน์แบบมีปฏิสัมพันธ์ ที่มีผลต่อแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้าง และหน้าที่ของเซลล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับวีดิทัศน์แบบมีปฏิสัมพันธ์ และ 2) เปรียบเทียบแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับวีดิทัศน์แบบมีปฏิสัมพันธ์ กับกลุ่มควบคุมที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปกติ ประชากร นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 4 ห้องเรียน 167 คน กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 ห้องเรียน 84 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม โดยการจับฉลากห้องควบคุมและห้องทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับวีดิทัศน์แบบมีปฏิสัมพันธ์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) แบบวัดแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที(t-test) ผลการวิจัยพบว่า
1) การพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับวีดิทัศน์แบบมีปฏิสัมพันธ์ หลังเรียน ร้อยละ 81.00 มีแนวคิดถูกต้องตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์(SU) รองลงมา ร้อยละ 12.26 มีแนวคิดทางวิทยาศาสตร์บางส่วนและแนวคิดคลาดเคลื่อนบางส่วน(PU&MU) และ ร้อยละ6.74 มีแนวคิดทางวิทยาศาสตร์คลาดเคลื่อน(MU) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่าหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
2) ผลการเปรียบเทียบแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ หลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
Article Details
References
กนกรัตน์ วุฒิวิชาภรณ์. (2555).ผลการใช้สื่อมัลติมีเดียร่วมกับวิธีเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาชีววิทยา สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนทวารวดีจังหวัดนครปฐม.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เกตุแก้ว ยืนยง. (2563).การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการเรียนรู้เรื่องเซลล์ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่1.วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 8 (1),225.
จิตติมา ดมหอม. (2553). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ต่อการพัฒนาแนวคิดและเจตคติ ต่อ
การเรียน เรื่อง เซลล์และการแบ่งเซลล์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่4. มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์: กรุงเทพมหานคร.
ณัฐกร สงคราม.(2557). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ .(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นันทยา ศรีขาว. (2556). การพัฒนาแนวคิดและเจตคติต่อวิชาเคมีเรื่องเคมีอินทรีย์ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นรินธน์ นนทมาลย์. (2561). วิดีโอปฏิสัมพันธ์ในการเรียนแบบเปิดในศตวรรษที่ 21.วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 46 (4), 211-227.
นิติมา รุจิเรขาสุวรรณ. (2555). ประสิทธิผลของการใช้สื่อมัลติมีเดียแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง สารชีวโมเลกุล ที่พัฒนาขึ้นสําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(เคมี). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
บุญชม ศรีสะอาด. (2535).การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ผจญ รุ่งอรุณเลิศ. (2551). ผลการใช้สื่อมัลติมีเดียที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนคงทองวิทยา. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พิมชนก เจริญชีพ และคณะ (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เรื่องระบบหมุนเวียน เลือด ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับการใช้แบบจำลองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์. 5 (1), 26-39
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). การสร้างและพัฒนาแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ประสานมิตร. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์. (พิมพค์รั้งที่8). กรุงเทพมหานคร: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2538. เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
วชิราภรณ์ ผลเรือง.(2551). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เกณฑ์การประเมินสื่อมัลติมีเดียกับความพึงพอใจกับการผลิตสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาของศูนย์เทคโนโลยีการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์ และจรรยา คนใหญ่ (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้ สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน, วารสารศูนย์อนามัย ที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 14 (34), 285-298.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Armstrong, D.G.and T.V. Savage. (1994). Secondary Education: An Introduction. 3rd ed. New York: Macmillan, NC.
Gilbert, S. W. and Ireton, S. W. (2003). Understanding Models in Earth and Space Science. Washington, D.C.: NSTA press.
Hazel, E. and Prosser, M. 1994. “First – year University Students Understanding of Photosynthesis, Their Study Strategies and Learning Context.” The American Biology Teacher 56 (5): 274 – 279.
Hurd, P.D. (1970). New Directions in Teaching Secondary School Science. 2nd ed. Chicago: Rand McNally Company.
Piaget. J. (1972). The original of intelligence in children. Trans, by Marget Cook. New York:
International Universitie Press.
Treagust, D. (1991). “Assessment of Students’ Understanding of Science Concepts Using Diagnostic Instrument.” The Australian Science Teacher Journal 37 (4): 40 -43.
Wilder, M. and P. Shuttleworth. (2005). “Cell Inquiry: A 5E Learning Cycle Lesson.” Science Activities: Classroom Projects and Curriculum Ideas. 41 (4), 37-43.