ผลการใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือที่มีต่อความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒

Main Article Content

ณัฏฐิยา บุณฑริกาวรรณ์
สุรัตนา อดิพัฒน์

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจระหว่างกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือและกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบปกติ
           กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 74 คน ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบปกติ และแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (M) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และการทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent และแบบ Independent
            ผลการวิจัย พบว่า
           1. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือมีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
           2. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือมีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
บุณฑริกาวรรณ์ ณ. ., & อดิพัฒน์ ส. . (2023). ผลการใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือที่มีต่อความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒. Journal of Modern Learning Development, 8(12), 166–180. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/263911
บท
บทความวิจัย

References

กรรณิกา คณานันท์. (2551) การพัฒนาความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ ทักษะการคิดวิเคราะห์ และความ พึงพอใจต่อการเรียน โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค CIRC ร่วมกับผังกราฟิกของ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการวิจัย พัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). นโยบายและจุดเน้นของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ 2566. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2565. แหล่งที่มา https://www.obec.go.th/about

จิราภา อ่ำแจ้ง และ วิสาข์ จัติวัตร์. (2563). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านเน้นภาระงานโดยใช้กลวิธีการอ่าน แบบร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือและ ทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารร้อยแก่นสาร, 6(6), 1-19

ธีราภรณ์ กิจจารักษ์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาชาวิชา ภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2565 แหล่งที่มา http://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/874?mode=full

นวภัทร สมานพันธ์. (2555). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือและเพลงเพื่อ พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มณชนก มโนราช. (2563). การใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือเพื่อการพัฒนาความสามารถในการอ่านจับ ใจความภาษาอังกฤษ ในรายวิชาการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 สาขา สถาปัตยกรรมวิทยาลัยเทคโนโลยีเมโทร ปีการศึกษา 2563. รายงานการวิจัย. วิทยาลัยเทคโนโลยีเมโทร

วราภรณ์ พรมอินทร์. (2561). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิต วิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิชญะ น้อยมาลา. (2564). ทักษะจำเป็นของการทำงานในศตวรรษที่ 21. ออนไลน์. วารสารวิชาการรัตนบุศย์ (RATANABUTH JOURNAL), 3(1), 45-57. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2565, แหล่งที่มา https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/download/595/450/2055

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). แนวทาง จัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 “21st Century Skill”. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2566 แหล่งที่มา https://webs.rmutl.ac.th/assets/upload/files/2016/09/20160908101755_51855.pdf

สุคนธ์ สินธพานนท์และจินตนา วีรเกียรติสุนทร. (2556). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่สู่ประชาคม อาเซียน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Farnaz Masoud Kabir and Ghasem Aghajanzadeh Kiasi. (2018). The Effective of Collaborative Strategic Reading on EFL Learner’s Reading Comprehension and Vocabulary Knowledge. European Journal of Foreign Language Teaching, 3(1), 1-16.

Johnson, R.T. & Johnson, D.W. (1994). An Overview of Cooperative Learning. In J.S. Thousand, R.A. Villa &A.I. Nevin (Ed.). Creativity and Collaborative Learning.

-34. (1st ed.). Baltimore, Maryland: Paul H. Brookes Publishing.

Klingner, J. K., Vaughn, S., & Schumm, J. S. (1998). Collaborative Strategic Reading. During Social studies in heterogeneous fourth-grade classroom. Elementary School Journal, 99, 3-21.

Sofyan A. Gani, Yunisrina Qismullah Yusuf, Rini Susiani. (2015). Progressive outcomes of collaborative strategic reading to EFL learners. Kasetsart Journal of Social Sciences, 37, 144-149.