อิทธิพลของการนำนโยบายฉีดวัคซีนไปปฏิบัติภายใต้การระบาดของโควิด-19 ที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตเทศบาลนครสงขลา

Main Article Content

ธัญจิรา ขันเรือง
วิศรุตา ทองแกมแก้ว
ไชยา เกษารัตน์

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงปริมาณนี้มีวัตถุประสงค์คือ  1) เพื่อศึกษาระดับการนำนโยบายฉีดวัคซีนไปปฏิบัติของอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตเทศบาลนครสงขลา ภายใต้การระบาดของโควิด-19 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตเทศบาลนครสงขลา ภายใต้การระบาดของไวรัสโควิด-19 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการนำนโยบายฉีดวัคซีนไปปฏิบัติภายใต้การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตเทศบาลนครสงขลา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนในเขตเทศบาลนครสงขลา จำนวน 234 คน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 146 คน  เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการนำนโยบายฉีดวัคซีนไปปฏิบัติของอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตเทศบาลนครสงขลา ภายใต้การระบาดของโควิด-19 พบว่าอยู่ในระดับมาก ( = 4.40 , S.D. = 0.206) 2) ระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตเทศบาลนครสงขลา ภายใต้การระบาดของไวรัสโควิด-19 พบว่าอยู่ในระดับมาก ( = 4.30 , S.D. = 0.460)  3) อิทธิพลของการนำนโยบายฉีดวัคซีนไปปฏิบัติภายใต้การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตเทศบาลนครสงขลา พบว่า อิทธิพลของการนำนโยบายฉีดวัคซีนไปปฏิบัติภายใต้การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตเทศบาลนครสงขลาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
ขันเรือง ธ., ทองแกมแก้ว . ว. ., & เกษารัตน์ ไ. . (2024). อิทธิพลของการนำนโยบายฉีดวัคซีนไปปฏิบัติภายใต้การระบาดของโควิด-19 ที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตเทศบาลนครสงขลา. Journal of Modern Learning Development, 9(1), 190–202. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/264415
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา ปภาทัสสี.(2541). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลในจังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการพัฒนาสังคม. บัณฑิตวิทยาลัย: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กรุงเทพมหานคร.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2540). หลักสถิติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2564). จดหมายเหตุกรม สบส. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2564. แหล่งที่มา: https://prgroup.hss.moph.go.th/

กรมควบคุมโรค. (2564). สถานการณ์ COVID-19 ภายในประเทศ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2564. แหล่งที่มา: https://ddc.moph.go.th/

ประเสริฐ เล็กสรรเสริญ และ ประภาเพ็ญ สุวรรณ.(2560). การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพของสมัชชาสุขภาพ จังหวัดนนทบุรี. วารสาร Veridian E-Journal,Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10 (3), 2205-2220.

พิมพ์ธีรา อายุวัฒน์.(2558). การนำนโยบายเมืองไทยแข็งแรงไปสู่การปฏิบัติของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสาร Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 8 (1), 416-429.

วชิรวัชร งามละม่อม.(ม.ป.ป.).การนำนโยบายไปปฏิบัติสงขลา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2564. แหล่งที่มา: http://file.siam2web.com/trdm/journal/201331_80183.pdf

วิทยา ชินบุตร.(2564). บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามนโยบายรัฐบาล อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 6 (2), 304-318.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา.(2563). จำนวนอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนในเขตเทศบาลนครสงขลา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.skho.moph.go.th/web/

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา.(2564). ข่าวสารแนะนำจังหวัด. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2564. แหล่งที่มา: https://songkhla.prd.go.th/th/content/ category/index/id/60

อุทัสน์ วีระศักดิ์การุณย์.(2556). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความต้องการในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจกองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน. ภาคนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานตำรวจและกระบวนการยุติธรรม : มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

Robert V.Krejcie & Daryle W.Morgan.(1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30 (3), 607 – 610.