การพัฒนาแบบฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของโพลยา เรื่อง วงกลม เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

เพ็ญจันทร์ ไชยศรีษะ
นันทน์ธร บรรจงปรุ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดของโพลยา เรื่องวงกลม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75  2) เปรียบเทียบทักษะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องวงกลม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของโพลยา และ3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดของโพลยา เรื่องวงกลม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 จำนวน 34 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนวัดตะกล่ำ สำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ได้มาโดยเลือกวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบฝึกทักษะ 3) แบบทดสอบ และ4) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบทักษะในการแก้ปัญหาก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สถิติค่า t-test
          ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ เรื่องวงกลม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามแนวคิด ของโพลยา เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา มีค่าประสิทธิภาพ 79.14/79.56 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2) ทักษะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องวงกลม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดของโพลยา เรื่องวงกลม  โดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับมาก


 

Article Details

How to Cite
ไชยศรีษะ เ. ., & บรรจงปรุ น. . (2024). การพัฒนาแบบฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของโพลยา เรื่อง วงกลม เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 . Journal of Modern Learning Development, 9(1), 52–67. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/264479
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560)ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

คณิศร พานิชและปรียา บุญญสิริ. (2563). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่อง ร้อยละและอัตราส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. สาขาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชฎาพร ภูกองชัย. (2561). การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. 4 (2). 93-100.

เนติกร กาจภาคิณ. (2565). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดของโพลยา และเทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล เรื่องการบวก ลบ คูณ และหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4.วารสารศึกษาศาสตร์ มมร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 10 (2), 110-123.

พลอยไพริน ศิริพัฒน์. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้รูปแบบการแก้โจทย์ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา. วารสารวิทยาศาตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา. 2 (1), 23-33.

ยุวะดี ศรีสังข์. (2563). การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง ร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รวีวรรณ ไสบาล. (2560). การพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Polya ประกอบแบบฝึกทักษะ : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วีณา วโรตมะวิชญ์. (2559). การสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ในโรงเรียนประถมศึกษา. เชียงใหม่. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุงพ.ศ.2560) ระดับประถม. ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 19 ตุลาคม 2565. แหล่งที่มา : file:///C:/Users/ACER/Downloads/8378%20(7).pdf

อมินตา หลุมนา. (2563). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดของโพลยาร่วมกับแบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Polya, G. (1985). How to solve it.New Jersey: Princeton University Press.